กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีใส่ใจป้องกันมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 62-L1499-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางรัก
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เมษายน 2562 - 25 เมษายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 24,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางรัก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางรัก อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.558,99.577place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 เม.ย. 2562 25 เม.ย. 2562 24,800.00
รวมงบประมาณ 24,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศต่างๆทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้ประมาณอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 2 เท่าของปัจจุบัน รายงานสถิติสาธารณสุขของศูนย์ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข อัตราตายด้วยมะเร็งทุกชนิดสูงขึ้นตลอดโดยมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เป็นอันตรายอันดับ 1 มะเร็งเต้านมเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิง     ประเทศไทย ปี 2555 มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 5,592 ราย เป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก โดยมีผู้เสียชีวิตปีละ 1,840 รายจังหวัดที่พบมะเร็งเต้านมสูงที่สุดได้แก่ กรุงเทพมหานคร พบได้แสนละ 25 คนโดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกพื้นที่ทั้งนี้มะเร็งเต้านมสามารถรักษาหายขาดได้หากค้นพบความผิดปกติเร็วกรมการแพทย์ตั้งเป้าลดอัตราการตายจากมะเร็งเต้านมไม่เกิน แสนละ 5.8 คน ในปี 2550 โดยให้ทุกจังหวัดรณรงค์ให้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไปตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 หากพบความปกติจะรักษาทันและได้ผลเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เสียชีวิตร้อยละ 80 มักมาพบแพทย์ เมื่อก้อนมะเร็งลุกลามไปแล้ว จากการศึกษาถึงพยาธิสภาพของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม วิธีเฝ้าระวังที่สำคัญคือ การตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน เมื่อพบความผิดปกติ จึงไปพบแพทย์เพื่อลดอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมกระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดนโยบายมุ่งให้ สถานบริการสาธารณสุขของรัฐดำเนินการรณรงค์ให้มีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในหญิงอายุ 30 ปีขึ้นไปเป็นประจำ แต่การดำเนินงานพบว่ากลุ่มเสี่ยงดังกล่าวยังให้ความสนใจต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเองค่อนข้างน้อย กล่าวคือตำบลบางรักได้ดำเนินงานรณรงค์ค้นหามะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ในปี 2560 พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเสียชีวิต 1 รายปี 2561 พบผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย จากการติดตามพบว่ามีการการตรวจตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองไม่ต่อเนื่อง และไม่บันทึกการตรวจ และจากการสอบถามพบว่าส่วนหนึ่งไม่เข้าใจโดยเฉพาะผู้สูงอายุส่วนหนึ่งเกิดจากไม่เห็นความสำคัญหรือไม่ตระหนัก บางส่วนเกิดจากแบบบันทึกการตรวจหายและอสม.บางส่วนเป็นผู้ชายไม่กล้าสอนติดตามหรือแนะนำให้ละเอียดเพียงพอ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางรักจึงได้จัดทำโครงการสตรีใส่ใจป้องกันมะเร็งเต้านมขึ้นและหากมีอาการในระยะเริ่มแรกจะได้รับการรักษาทันท่วงที และเสริมสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพตัวเองต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง

 

0.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,800.00 1 24,800.00
3 ต.ค. 62 - เสนอแผนงานให้คณะกองทุนหลักประกันสุขภาพ - ประสานงานจัดหาวิทยากรจากเครือข่ายโรงพยาบาลศูนย์ตรัง - จัดประชุมให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย 2 วันๆละ 80 คน - ประเมินผลและติดตาม 0 24,800.00 24,800.00
  • เสนอแผนงานให้คณะกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  • ประสานงานจัดหาวิทยากรจากเครือข่ายโรงพยาบาลศูนย์ตรัง
  • จัดประชุมให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย 2 วันๆละ 80 คน
  • ประเมินผลและติดตาม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจค้นหามะเร็งปากเต้านมได้ด้วยตนเอง หากพบอาการผิดปกติจะได้รับการการรักษาอย่างทันท่วงที และสามารถนำความรู้ที่ได้รับการอบรมไปเผยแพร่ต่อไปอัตราการป่วยและตายจากมะเร็งเต้านมลดลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2562 15:21 น.