กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค้นหากลุ่มเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 60-L4135-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บุดี
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 33,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมคิด สุวรรณสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ สุชาดา สุวรรณคีรี
พื้นที่ดำเนินการ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดของมะเร็งในสตรีไทยและพบมากในช่วงอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี แต่มะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะก่อนมะเร็งด้วยการทำ Pap smear โดยการเก็บเอาเซลล์เยื่อบุบริเวณปากมดลูกไปตรวจหาเซลล์มะเร็งโดยการตรวจภายใน ซึ่งการรักษาจะได้ผลดีมาก หากเป็นมะเร็งที่ตรวจพบในระยะแรกเป็นโรคที่สามารถตรวจพบตั้งแต่ยังไม่มีอาการด้วยการตรวจ Pap smear ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองโรคด้วยการทดสอบทางเซลล์วิทยา ทำได้ง่าย เสียเวลาน้อย ค่าใช้จ่ายถูกและให้ความแม่นยำได้ดีกลุ่มสตรีที่มีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกควรได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก๑ ครั้งต่อปีในขณะเดียวกันหากสตรีไม่มีการดูแลตนเองด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำแล้ว พบว่า สตรีมักไปพบแพทย์เมื่อโรคมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระยะรุนแรง ทำให้ขาดโอกาสในการหายจากโรคและต้องสูญเสียทรัพยากรในการรักษาทั้งในด้านส่วนบุคคลและประเทศชาติ สตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๑,๐๗๓ คน ซึ่งต้องเริ่มดำเนินการตรวจคัดกรองทั้งหมดให้ได้ร้อยละ ๑๐๐ ภายในเวลา ๕ ปี คือ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ ต้องตรวจให้ได้เฉลี่ยร้อยละ ๒๐ ต่อปี ส่วนโรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่สามารถค้นพบ ค้นหาได้ด้วยตนเองและสามารถป้องกันได้ถ้าตรวจพบความผิดปกติในระยะเริ่มแรก โดยทำการรักษาอย่างถูกต้อง และดูแลรักษาสุขภาพตนเองอย่างถูกวิธี รวมถึงการมีความรู้ ความเข้าใจในโรคและระยะการดำเนินของโรคโรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องอาศัยความต่อเนื่องในการดูแลรักษา ดังนั้น ในการจัดทำโครงการป้องกันและค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม จัดเป็นการเฝ้าระวังผู้ที่ไม่เป็นโรคให้สามารถค้นหาความผิดปกติของตนเองได้อย่างถูกวิธี ซึ่งโรคดังกล่าวกำลังเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขในการดูแลรักษาเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ดังนั้นจึงควรที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ป่วยและครอบครัวต่อไป ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับการตรวจคัดกรองและได้รับทราบผลการตรวจอย่างทันท่วงที จึงได้จัดทำโครงการเติมความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี ๒๕60 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็ง เต้านม

 

2 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมและมีทักษะในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

 

3 เพื่อร่วมพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
16 - 24 ก.ย. 60 อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ตามกลุ่มเป้าหมาย 200 33,800.00 33,800.00
รวม 200 33,800.00 1 33,800.00

๑ ขั้นเตรียมการ
๑.๑ สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและ มะเร็งเต้านม
๑.๒ นำเสนอปัญหาการดำเนินงานตามตัวชี้วัดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ไม่ได้ตามเป้าหมาย ต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น เพื่อเข้าแผนงานพิจารณาของกองทุน ๑.๓ จัดทำแผนงาน/โครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเพื่อพิจารณา ๑.๔ เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
๑.๕ ประชาสัมพันธ์โครงการ ๒ ขั้นดำเนินการ
๒.๑ จัดอบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็งมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยใช้แผ่นพับPower Pointและซีดี ๒.๒ หญิงวัยเจริญพันธุ์ตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๒.๓ ร่วมพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและ มะเร็งเต้านม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ ผู้ที่เข้ารับการอบรมตามกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและเต้านม
๒ ผู้ที่เข้ารับการอบรมตามกลุ่มเป้าหมายสามารถสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2560 10:01 น.