กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาชนร่วมใจป้องกันภัย ไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L4135-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บุดี
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 18,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมคิดสุวรรณสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ สุชาดา สุวรรณคีรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 430 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และการสาธารณสุขในระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงแปรผันตรงต่ออัตราตาย การป่วยเป็นไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย ชุมชน สังคมและประเทศชาติตามลำดับ หากมีตรวจวินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ แต่เดิมระบาดวิทยาของไข้เลือดออก จะพบบ่อยในกลุ่มเด็กอายุ ๕- ๙ ปีแต่ในปัจจุบันพบได้ทุกกลุ่มอายุการระบาดของโรคจะเกิดในช่วงฤดูฝน โดยธรรมชาติของการเกิดโรคจะมีลักษณะการระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้นสองปีหรือระบาดติดต่อกัน ๒ ปีเว้น ๑ ปีแต่สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปัจจุบันมีการระบาดรุนแรงอย่างต่อเนื่องทุกปีซึ่งเกิดขึ้นเกือบทุกพื้นที่และ เมื่อวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ของการเกิดโรคไข้เลือดออกแล้วมักเกิดจากสภาวะแวดล้อมของชุมชนที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรคเช่นมีน้ำขังตามแอ่งและภาชนะต่างๆที่ใช้และไม่ใช้ในครัวเรือนโรงเรียนวัด มัสยิดและสถานที่ต่าง ๆซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายยุงลายสามารถวางไข่เติบโตเป็นตัวแก่ต่อไปอาศัยอยู่ตามบ้านเรือนหากยุงลายตัวใดมีเชื้อไข้เลือดออกกัดบุคคลในครัวเรือนเข้าก็จะปล่อยเชื้อและเกิดเป็นไข้เลือดออกในเวลาต่อมาวงจรชีวิตนี้จะวนเวียนตลอดไป จากสถิติการระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี พบว่า ปี๒๕๕7-๒๕59 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก ๑๖ , 6 และ 27 รายตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร คือ ๒๗๑.๙๑ , ๑๐๑.๘๓ และ 460.75 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับไม่มีผู้ป่วยตาย ซึ่งปี 2559 มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดีอำเภอเมืองจังหวัดยะลาจึงได้จัดทำโครงการประชาชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกโดยจัดให้มีประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ทีม SRRT กิจกรรมเดินรณรงค์ควบคุมไข้เลือดออก และสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ในบ้าน มัสยิดโรงเรียน โดยเน้นให้มีการทำลายลูกน้ำและยุงตัวเต็มวัยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกโดยอาศัยวิธีการทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพและเคมีและให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องครอบคลุมในทุกชุมชนโดยมุ่งหวังที่จะลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลบุดีอำเภอเมืองจังหวัดยะลา
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและให้ ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

 

2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

 

3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย โรงเรียนและชุมชน

 

4 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

 

5 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและให้ ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย โรงเรียนและชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  • การเตรียมการ ๑ จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ๒ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานตามโครงการ ๓ ประชุมแกนนำชุมชนทีมSRRT อาสาสมัครสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาลและผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ
  • การดำเนินการ ๑ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ๒ประชุมเชิงปฏิบัติการทีม SRRT ตำบล และแกนนำ เพื่อร่วมหาแนวทางการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออกในชุมชน
    3กิจกรรมรณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลายโดยวิธี
    • ทางกายภาพ รณรงค์ให้ชุมชน,โรงเรียน และมัสยิดร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  • ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน
  • ทางชีวภาพ สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุงการเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน ๘๐ คนต่อแสนประชากร ๒. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก ๓. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ๔. นักเรียนมีความรู้และเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ๕. สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2560 10:12 น.