กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุวิถีชุมชน
รหัสโครงการ 60-L4135-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บุดี
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 17,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมคิด สุวรรณสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ สุชาดา สุวรรณคีรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยทำให้อัตราการเกิดน้อยลงประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์(Aged Society) จากปัญหาดังกล่าวทำให้แนวโน้มผู้สูงอายุในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุมีความเจ็บป่วยด้วยโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เข่าเสื่อม โรคซึมเศร้า และทุพพลภาพติดเตียง ขณะที่มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ไม่เป็นโรค และผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเพียงร้อยละ 56 รัฐบาลให้ความสำคัญกับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่มมาอย่างต่อเนื่องโดยพบว่าประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 4 ล้านคน (ร้อยละ(6.8) ในปี 2537 เป็น10 ล้านคน (ร้อยละ14.9 ) ในปี 2557 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 20.5ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ในปี 2553 และในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 6,394,022 คนพบว่าเป็นกลุ่มติดสังคมร้อยละ 79 และเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดบ้านติดเตียงจำเป็นต้องสนับสนุนบริการด้านสุขภาพและสังคมร้อยละ 21 ในปี 2559รัฐบาลได้มุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียงโดยมีเป้าหมายสำคัญคือทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงและทำอย่างไรผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม โดยทีมสหวิชาชีพในระดับปฐมภูมิซึ่งจัดบริการดูแลด้านสุขภาพถึงที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามปัญหาสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนและท้องถิ่นส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดีมีผู้สูงอายุ จำนวน 686 คน คิดเป็นร้อยละ 11.70ของประชากรทั้งหมด พบว่าเป็นผู้สูงอายุติดสังคม 653 คิดเป็นร้อยละ 95.18 และเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดบ้าน จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 4.37ติดเตียง จำนวน3คน ร้อยละ 0.43 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี จึงได้จัดทำโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุวิถีชุมชน ปีงบประมาณ 2560 ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคม ให้แก่ผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียงได้

 

2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลสุขภาพ

 

3 3. เพื่อพัฒนาชมรมผู้สูงอายุให้มีความเข้มแข็ง มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

4 4. เพื่อคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ(basic geriatric screening : BGS)

 

5 5. เพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย จิต จิตวิญญาณ ของผู้สูงอายุ สามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีคุณค่า

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมเจ้าหน้าที่ และทีมงานเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงการ
2.มอบหมายผู้รับชอบโครงการ 3.เขียนโครงการฯ เสนอขออนุมัติ 4.ประสานกับหน่วยงานและบุคลากรในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง 5.ประชาสัมพันธ์โครงการ ขั้นดำเนินการ
1. ประชุมสรรหาแต่งตั้งคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ 2. คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ แยกประเภทกลุ่มติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง 3. จัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียงแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 4. จัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุเพื่อเสริมคุณค่า และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลสุขภาพ
5. สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชมรมผู้สูงอายุมีการพัฒนา และสามารถดำเนินกิจกรรมได้
  2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียงได้
  3. ผู้สูงอายุมีสุขร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง
  4. เกิดความเข้าใจและสามัคคีระหว่างผู้สูงอายุด้วยกัน
  5. ผู้สูงอายุสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีคุณค่า
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2560 10:17 น.