กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 60-L4135-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บุดี
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 17,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมคิด สุวรรณสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ สุชาดา สุวรรณคีรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่ โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค คือ “กรรมพันธุ์” และ “สิ่งแวดล้อม” ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ จากผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ จากข้อมูลอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ปี ๒๕๕๙ พบว่า ประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบทั้งหมด ๑๐๖ ราย ได้รับการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือด 71 รายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีเยี่ยม จำนวน๙ ราย พบกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบ ๓๗๖ ราย ควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ดีเยี่ยม จำนวน ๑๘ รายหากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ในอนาคต

การรักษาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรครวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายเบาหวาน ความดันหรือกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้

ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยต่อโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ปี ๒๕๕๘ขึ้นโดยเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอย่างเข้มข้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรค

 

2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในการป้องภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

 

4 เพื่อผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตรที่แข็งแรง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
19 - 26 ก.ย. 60 จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 100 17,500.00 17,500.00
รวม 100 17,500.00 1 17,500.00

๑. จัดทำแผนงาน / โครงการฯ ๒. นำเสนอโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติ ๓. จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการฯ ๔. ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการโครงการในสถานบริการ
๕. สรุป / ประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลังการอบรมฯ ๓ เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชากรกลุ่มป่วย มีความรู้ และ ทัศนคติที่เหมาะสม ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
๒.กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้รับการติดตามประเมินผลเป็นระยะตามที่กำหนดไว้ ๓. ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มเป้าหมาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2560 10:17 น.