กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด
รหัสโครงการ 60-L5311-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักเลขากองทุน
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 80,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิชัย สำเร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.973,99.85place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เป็นการสนับสนุนระบบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้เข้มแข็งส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มากขึ้น สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนด้วยตนเอง สนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการบริหารในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนบรรลุวัตถุประสงค์มีความเหมาะสมส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่จึงต้องมีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนงานโครงการกิจกรรมการติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานของกองทุนการประเมินความพึงพอใจและการรับรู้ของประชาชนต่อการดำเนินงานของกองทุนเพื่อใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการประชาชนและภาคีที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการอื่นรวมทั้งสถานบริการทางเลือกโดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตเพื่อให้กลุ่มแม่และเด็กกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มคนพิการกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการอื่นรวมทั้งสถานบริการทางเลือกโดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตเพื่อให้กลุ่มแม่และเด็กกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มคนพิการกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2 2 เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ได้ดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่

กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่สามารถดำเนินโครงการ กิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพการป้องกันโรคให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่ได้

3 3 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน

ศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน สามารถสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกได้

4 4 เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ

คณะกรรมการกองทุนและคณะอนุกรรมการ บริหารดำเนินการกองทุนฯมีประสิทธิภาพมากขึ้น

5 5 เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่

สามารถดำเนินโครงการกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้ทันท่วงที

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
30 - 31 ม.ค. 60 ค่าเดินทางไปราชการร่วมประชุมชี้แจงระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุและยุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง 1 1,400.00 1,400.00
17 - 20 ก.พ. 60 เข้าร่วมอบรม หลักสูตรการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นของ อปท. ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ฯ 1 6,620.00 6,620.00
28 มี.ค. 60 ประชุมพิจารณาอนุมัติแผนสุขภาพปี 2560 21 8,625.00 8,625.00
7 เม.ย. 60 ประชุมพิจารณาอนุมัติโครงการ 21 8,625.00 8,625.00
21 เม.ย. 60 ประชุมพิจารณาอนุมัติโครงการ 21 0.00 0.00
31 พ.ค. 60 ประชุมพิจารณาอนุมัติโครงการ 21 8,625.00 8,625.00
15 ก.ย. 60 ประชุมคณะกรรมการพิจารณาแผนสุขภาพปี 2561 21 8,100.00 8,100.00
รวม 107 41,995.00 7 41,995.00

ขั้นเตรียมการ ๑. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ ๒. แจ้งคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓. ประชาสัมพันธ์โครงการ ขั้นดำเนินการ ๔. ดำเนินการตามโครงการโดยมีกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่ ๑ พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนฯ กิจกรรมที่ ๒ ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนและที่ปรึกษา จำนวน๔ครั้ง กิจกรรมที่ ๓ ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรมจำนวน๒ครั้ง กิจกรรมที่ ๔ ประชุมชี้แจงผู้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ กิจกรรมที่ ๕ เยี่ยมติดตามและประเมินผลของคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล ๕. การจัดทำเอกสาร แผ่นพับ วัสดุ/อุปกรณ์ต่างๆ ๖. วัสดุสำนักงาน และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ๗. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๗.๑ คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการมีความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานจัดการบริหารกองทุนหลักประกันสุขและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคเรื้อรังในชุมชน ๗.๒ ประชาชนรับรู้และมีกิจกรรมการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ๗.๓ คณะกรรมการบริหารกองทุน สามารถบริหารจัดการกองทุนและมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2560 10:22 น.