กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรม ลดเสี่ยงเลี่ยงไตวาย
รหัสโครงการ 62-L1523-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 23,918.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางราตร๊ แก้วกูล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุณี จำนงค์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 23,918.00
รวมงบประมาณ 23,918.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 72 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนจากสถานการณ์โรคไตของประเทศไทย พบว่าปี 2561 พบว่าขณะนี้คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย 2 แสนคน และผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 15-20 ต่อปี มีผู้เสียชีวิตจากไตวายปีละ 13,000 กว่าคน ซึ่ง 1 ใน 3 อายุน้อยกว่า 60 ปี ผู้ป่วยไต 1 คน จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 บาท/คน/เดือน เพราะต้องได้รับการฟอกไตด้วยวิธีฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านหน้าท้อง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้แต่ละปีต้องใช้งบประมาณถึง 20,000 ล้านบาท  นอกจากนี้เมื่อป่วยยังทำให้คุณภาพชีวิตต่ำลง เสี่ยงการติดเชื้อแทรกซ้อนและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดทำแนวทางการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการสาขาโรคไตเพื่อลดกลุ่มเสี่ยง ชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังทุกระยะ เพิ่มการเข้าถึงบริการโรคไตที่มีคุณภาพเสมอภาคทุกเครือข่าย
จากผลการดำเนินงานคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร พบว่าอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในปี พ.ศ.2560 พบมีภาวะไตเสื่อม CKD มากกว่าหรือเท่ากับ Stage 3 จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 6.87 และในปี พ.ศ. 2561พบมีภาวะไตเสื่อม CKD มากกว่าหรือเท่ากับ Stage 3 จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 11.50 ผู้ป่วยจำนวนดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะต้องฟอกไตในอนาคตถ้ายังไม่ได้รับการรักษา ส่งเสริม และฟื้นฟูอย่างถูกต้องในการแก้ไขป้องกันปัญหาโรคไตวาย
จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชรเล็งเห็นถึงแนวโน้มการเกิดภาวะแทรกซ้อนไตวายในผู้ป่วยโรคเรื้อรังจึงได้จัดทำโครงการพฤติกรรม ลดเสี่ยงเลี่ยงไตวายเพื่อชะลอภาวะไตวาย และป้องกันไม่ให้ไตวายอันจะส่งผลต่อการต้องล้างไตในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 (๑) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง แกนนำสุขภาพ มีความรู้ / ตระหนักในการดูแลสุขภาพ ป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง (๒) เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะไตเสื่อม CKD มากกว่าหรือเท่ากับ Stage 3 ได้รับการดูแล/ป้องกันโรคไตวายเรื้อรังที่มีคุณภาพ (3) เพื่อให้เกิดเครือข่ายภาคสุขภาพในการดูแล/ป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

(๑) ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง แกนนำสุขภาพ มีความรู้/ตระหนักในการดูแลสุขภาพ ป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง             (2) ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต Stage 3 มีค่า Cr. ลดลง             (3) ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต Stage 3 ได้รับติดตามการเยี่ยม
            บ้านทีมหมอครอบครัว

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีอัตราการกรองของไต Stage 1,2 แกนนำสุขภาพ (กลุ่ม อสม.) 100 12,868.00 -
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 3 ทีมหมอครอบครัวติดตามเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต Stage 3หลังอบรม 2 สัปดาห์ 30 0.00 -
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 2 อบรมพัฒนาศักยภาพการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต Stage 3 ร่วมกับผู้ดูแล 60 9,300.00 -
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 4 จัดทำกิจกรรมกลุ่ม Self-health -group 70 1,750.00 -
รวม 260 23,918.00 0 0.00

๑.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร  ๒.ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่บุคลากรสาธารณสุข รพ.สต./อสม./ผู้นำเขตพื้นที่รับผิดชอบ  ๓.วางแผนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์โครงการและเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการฯ   4.ติดต่อประสานงานวิทยากรจัดเตรียมเอกสาร/วัสดุอุปกรณ์ในการอบรม  5.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ   กิจกรรมที่ 1
  อบรมพัฒนาศักยภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีอัตราการกรองของไต Stage 1,2 แกนนำสุขภาพ (กลุ่ม อสม.)
กิจกรรมที่ 2
  อบรมพัฒนาศักยภาพการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต Stage 3 ร่วมกับผู้ดูแล


กิจกรรมที่ 3 ทีมหมอครอบครัวติดตามเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต Stage 3 จำนวน 30 คน ที่ผ่านการเข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพภายหลังอบรมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และติดตามผลค่า Cr.ผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต Stage 3 หลังจากเข้าร่วมโครงการ 5 เดือน กิจกรรมที่ 4 จัดทำกิจกรรมกลุ่ม Self-health-groupits ระหว่างเจ้าหน้าที่และตัวแทนแกนนำสุขภาพรวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต Stage 3 จำนวน 30 คน หลังจากได้รับผล Cr. และหลังร่วมโครงการ 5 เดือน ร่วมกับผู้ดูแล จำนวน 30 คน และตัวแทนแกนนำสุขภาพที่ผ่านการอบรมพัฒนาศักยภาพ (กลุ่ม อสม.) จำนวน 10 คน   6.สรุปผลโครงการและรายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสื่อม สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ผู้ดูแลให้ความร่วมมือและสามารถให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย เพื่อชะลอภาวะเสื่อมของไตได้ดีขึ้น อันจะนำไปสู่การสร้างสุขภาพมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2562 10:16 น.