กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนต้นแบบปลอดบุหรี่ (บ้านปูลานิบง)
รหัสโครงการ 60-L4135-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บุดี
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 11,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมคิด สุวรรณสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ สุชาดา สุวรรณคีรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรลำดับที่สองของคนไทย โดยประมาณหนึ่งในหกของชายไทยและหนึ่งในยี่สิบห้าของหญิงไทยที่เสียชีวิตมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ ปี 2557 ผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรไทย อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ปัจจุบัน จำนวน 11.4 ล้านคน คิดอัตราการสูบบุหรี่ 20.7%โดยแยกผู้สูบประจำ จำนวน 10.0 ล้านคน สูบเป็นครั้งคราวจำนวน 1.4ล้านคนเคยสูบ แต่เลิกแล้วจำนวน 3.7 ล้านคนอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันในเยาวชนกลุ่มอายุ 15 - 18 ปี จำนวน 353,898 คน คิดเป็นอัตรา 8.3 %กลุ่มอายุ 19 - 24 ปี จำนวน 1,059,839 คน คิดอัตรา 19.8 % เด็กไทยติดบุหรี่ใหม่เพิ่มปีละ 200,000 คน ติดก่อนอายุ 18 ปี จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าร้อยละ 70 ของเยาวชนที่ติดบุหรี่จะติดไปตลอดชีวิต ส่วนร้อยละ 30 จะเลิกได้หลังจากติดบุหรี่ไปแล้วเป็นเวลา 20 ปี (ข้อมูลรวบรวมโดย คร.ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ชุมชน ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของประชาชน คติความเชื่อ ประเพณีท้องถิ่น เป็นศูนย์รวมให้ชาวบ้านกับชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น และเป็นสัญลักษณ์ทางกายภาพและจิตวิญญาณที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละท้องถิ่น ชุมชนต้นแบบในสร้างสุขภาพ จึงเป็นรูปแบบหนึ่งโดยใช้คนในชุมชนเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ กับประชาชน ชุมชน โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีการส่งเสริมสุขภาพที่ดี มีการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และเกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ชุมชนเอื้อโอกาสต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี จึงดำเนินโครงการชุมชนต้นแบบเพื่อขับเคลื่อนให้ “ชุมชนปลอดบุหรี่” เป็นสถานที่พัฒนาทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ประเพณี วัฒนธรรม เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน ครอบครัว และชุมชนด้วยหลักการส่งเสริมสุขภาพ 5 ร. คือ ร่มรื่นสะอาดปลอดควันบุหรี่ร่มเย็นสงบสดชื่นปลอดโรคร่วมสร้างสุขภาพ 3 อ 2 ส ร่วมจิตวิญญาณสร้างสุขภาพ และร่วมคิดร่วมพัฒนาและตอบสนองนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการขับเคลื่อนโครงการ 3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาขนในชุมชนกลุ่มวันทำงานและกลุ่มเสี่ยง ลด ละ เลิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 10

 

2 เพื่อเป็นชุมชนต้นแบบปลอดบุหรี่ 1 ตำบล 1 ชุมชน

 

3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการชุมชนต้นแบบในการขับเคลื่อนโครงการชุมชนต้นแบบปลอดบุหรี่ตอบสนองนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการขับเคลื่อนโครงการ 3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน”

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
25 ส.ค. 60 - 14 ก.ย. 60 ประชุมชี้แจงโครงการ/แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานขับเคลื่อน จำนวน 3 ครั้ง 30 3,150.00 3,150.00
15 ก.ย. 60 การเดินรณรงค์สร้างกระแส ลด ละ เลิกสูบบุหรี่ 50 1,750.00 1,750.00
22 ก.ย. 60 อบรมบุคคลต้นแบบและเข้าคลินิคเลิกสูบบุหรี่ 30 5,250.00 5,250.00
25 ก.ย. 60 ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ 30 1,050.00 1,050.00
รวม 140 11,200.00 4 11,200.00

1 ประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนโครงการอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้านและประชาชน 2 แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานและทำคำสั่งชุมชนต้นแบบปลอดบุหรี่ 3 ประชุมทำแผนกำหนดการการขับเคลื่อนโครงการการและเดินรณรงค์เคาะประตูบ้าน 4 จัดอบรมบุคคลต้นแบบและเข้าคลินิคเลิกสูบบุหรี่ 5 สรุปผลการดำเนินงานโครงการและประกาศรายชื่อบุคคลต้นแบบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มเสี่ยงสามารถเลิกสูบบุหรี่และเป็นต้นแบบ อย่างน้อย1 คน 1 ชุมชน
  2. บ้านปูลานิบงเป็นชุมชนต้นแบบปลอดบุหรี่ 1 ตำบล 1 ชุมชน
  3. เกิดพลังการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของประชาชน และผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้สามารถปกป้องเยาวชนจากบุหรี่และยาเสพติดตอบสนอง "โครงการ3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน”
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2560 10:29 น.