กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน


“ โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพกลุ่มแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน อำเภอควนโดนจังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2562 ”

ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายวัฒนชัย ไชยจิตต์

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพกลุ่มแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน อำเภอควนโดนจังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2562

ที่อยู่ ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 6 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กรกฎาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพกลุ่มแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน อำเภอควนโดนจังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2562 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพกลุ่มแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน อำเภอควนโดนจังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2562



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพกลุ่มแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน อำเภอควนโดนจังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2562 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 6 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 13,350.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญ คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัยโดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ขณะเจ็บครรภ์คลอดและหลังคลอดการประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์และดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมจะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้การฝากครรภ์เร็วฝากครรภ์ตามเกณฑ์ ทำให้สามารถคัดกรองภาวะเสี่ยงและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องตามระบบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงจะเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งจะมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารก จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของอำเภอควนโดน ปี 2559 – 2561 พบว่าอัตราฝากครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 23.33, 59.46 และ 51.06 ตามลำดับซึ่งต่ำกว่าตัวชี้วัด (มากกว่าร้อยละ60) อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางร้อยละ12.20 , 18.89 และ 8.51 ตามลำดับซึ่งสูงกว่าตัวชี้วัด (ไม่เกินร้อยละ 10) อัตราทารกคลอดน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม ร้อยละ2.22 , 7.32 และ 4.92ตามลำดับซึ่งสูงกว่าตัวชี้วัด (ไม่เกินร้อยละ7) นอกจากนี้อาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาเช่นรกค้างระยะคลอดยาวนาน ตกเลือดหลังคลอดติดเชื้อหลังคลอด ภาวะเด็กขาดออกซิเจน ขณะคลอด (Birth Asphyxia) ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะก่อให้เกิดอันตรายต่อมารดาและทารก ทำให้งานอนามัยแม่และเด็กไม่บรรลุตามตัวชี้วัดสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2562 ขึ้นเพื่อส่งเสริมการฝากครรภ์ครบ5ครั้งและเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน12สัปดาห์อย่างมีคุณภาพลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์ลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์รวมทั้งเพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6เดือนตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนเป็นแกนนำป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยมีกระบวนการทำงานคือจัดเสวนากลุ่มภาคีเครือข่ายพัฒนาทักษะการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์และประชุมเชิงปฏิบัติการcaseเสี่ยงสูงเพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็กรวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้และสาธิตอาหารหญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด/ผู้ดูแลโดยนักโภชนาการและประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำเยาวชนในการขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
  2. เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
  3. เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์
  4. เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน
  5. เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์
  6. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนเป็นแกนนำ ป้องกันและเฝ้าระวังปัญหารการตั้งครรภ์ในวัยรุน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดเสวนากลุ่มภาคีเครือข่าย
  2. พัฒนาองค์ความรู้และสาธิตอาหารหญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด/ผู้ดูแลโดยนักโภชนาการ
  3. พัฒนาทักษะการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์
  4. ประชุมเชิงปฏิบติการcase เสี่ยงสูง เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก
  5. ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำเยาวชนในการขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 129
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ไม่มีมารดาตายในพื้นที่วังประจัน
2.ภาวะซีดเป็น 0 หรือไม่เกิน ร้อยละ10 3.ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเป็น 0 หรือไม่เกินร้อยละ 7 4.จัดการแก้ไขปัญหาหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงได้ทุกราย เช่น ภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ ไม่มีภาวะเด็กตายในครรภ์ 5.มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 6.ลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 7.ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดเสวนากลุ่มภาคีเครือข่าย

วันที่ 31 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 2 จัดเสวนากลุ่มภาคีเครือข่าย โดย คณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล  (พชต.3พ)  จำนวน    3  ครั้ง  ๆละ  15  คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 2 จัดเสวนากลุ่มภาคีเครือข่าย โดย คณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล  (พชต.3พ) เพื่อขับเคลื่อน การแก้ไขปัญหา ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยการวางแผนการสร้างคนคุณภาพ โดยเริ่มต้นจากการดูแลหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อเตีรยมความพร้อมในการตั้งครรภ์ สืบเนื่องจากพบว่าการขาดการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ปัญหาการฝากครรภ์ช้า กว่า 12 สัปดาห์ , มีภาวะซีดก่อนตั้งครรภ์และ ขณะตั้งครรภ์, การคลอดก่อนกำหนด , บุตรน้ำหนักน้อย , หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น อายุ น้อยกว่า 20ปีโดยการคืนข้อมูล สู่ คณะกรรมการ พชต และ ร่วมกันวางแผนเพื่อแก้ปัญหา โดย มีมาตรการ ให้ หญิงวัยเจริญพันธุ์  เข้าร่วมโครงการ สาววังฯ แก้มแดง เพื่อรับการการอบรมและรับยา โฟลิค และ ยาเสริมธาตุเหล็ก โดยมีคณะกรรมการ พชต.3พ เข้าร่วม จำนวน 15 ท่าน จำนวน 3 ครั้ง คือ วันที่  31 ก.ค 62 , 30 ส.ค 62 , 27 ก.ย. 62

 

15 0

2. พัฒนาทักษะการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์

วันที่ 23 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาทักษะการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์  ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20-34 ปี เป้าหมาย คือ อยู๋ในพื้นที่ ตำบลวังประจัน จำนวน 129 ราย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาทักษะการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์  ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20-34 ปีเป้าหมาย คือ อยู่ในพื้นที่ ตำบลวังประจัน จำนวน 129 ราย ซึ่ง ได้รับการอบรม เรื่อง การวางแผนก่อนการแต่งงาน  , การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ , การวางแผนการตั้งครรภ์คุณภาพ โดยจัดอบรมให้ ทราบถึงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ แต่ละระยะ โดยใช้ คลิปวีดีโอ จากยูทูป และ รับฟังการคืนข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้น ในพื้นที่ ตำบลวังประจัน โดย ผู้รับผิดชอบงานฝากครรภ์ พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องการทานยาเสริมธาตุเหล็ก ร่วม ด้วยกรดโฟลิกเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ลดภาวะซีดก่อนการตั้งครรภ์ มีการคัดกรองและประเมินสุขภาพทั่วไป  การคำนวณ BMI เพื่อทราบถึงแนวโน้มความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคเบาหวานและความดัน สำหรับหญิง วัยเจริญพันธุ์ที่พร้อมจะตั้งครรภ์รับยา ไปทานต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับตั้ง รับยาไปกินได้เลย

 

129 0

3. พัฒนาองค์ความรู้และสาธิตอาหารหญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด/ผู้ดูแลโดยนักโภชนาการ

วันที่ 23 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

พัฒนาองค์ความรู้และสาธิตอาหารหญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด/ผู้ดูแลโดยนักโภชนาการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 4 พัฒนาองค์ความรู้ และ สาธิตอาหารหญิงตั้งครรภ์ / มารดาหลังคลอด / ผู้ดูแลโดยนักโภชนาการ  โดยมีการแนะนำเมนูอาหารเพื่อส่งเสริมในหญิงตั้งครรภ์ และ มารดาหลังคลอด โดย นำพืชผักในท้องถิ่น เช่น ปลีกล้วย เพื่อ บำรุงน้ำนม โดย การนำมาแกง และ ยำ , ผัด , ทอด โดยคิดสูตรที่สามารถนำมาทานได้ไม่เบื่อ โดยมีผู้เข้าร่วม ได้แก่หญิงตั้งครรภ์  10 ราย หญิงหลังคลอด 10 ราย ผู้ดูแล 10 ราย

 

30 0

4. ประชุมเชิงปฏิบติการcase เสี่ยงสูง เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก

วันที่ 4 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการ case เสี่ยงสูง เพื่อวิเคราะห์แก้ปัญหาอนามัยและเด็ก แก่  หญิงตั้งครรภ์ 10 ราย ,  เจ้าหน้าที่ให้บริการ 6 คน , ภาคีเครือข่าย แกนนำ  14 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการ case เสี่ยงสูง เพื่อวิเคราะห์แก้ปัญหาอนามัยและเด็ก แก่  หญิงตั้งครรภ์ 10 ราย ,  เจ้าหน้าที่ให้บริการ 6 คน , ภาคีเครือข่าย แกนนำ  14 คน

 

30 0

5. ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำเยาวชนในการขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชน

วันที่ 12 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำเยาวชนในการขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 5 ประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำเยาวชนในการขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชน  โดย จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง บุคลิกของวัยรุ่น อารมณ์ แบ่งเป็นกลุ่ม เพื่อ ทำ Work Shop แล้ว ส่งตัวแทนนำเสนอ โดย สะท้อนปัญหาที่เป็นสาเหตุ ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน และ สะท้อนปัญหาวัยรุ่นติดยาเสพติด โดย ร่วมกันแลกเปลี่ยนในกลุ่ม เขียนลงใน Flip chart เพื่อนำเสนอเป็นรายกลุ่ม และ มีการ ทำกิจกรรม เล่นเกมส์พัฒนาทักษะการสื่อสาร เกมส์เสริมสร้างทักษะความเป็นผู้นำ

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
ตัวชี้วัด : จำนวนหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง(คน) ร้อยละ 60
24.00 40.00

 

2 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
ตัวชี้วัด : จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(คน) ร้อยละ 65
18.00 40.00

 

3 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์
ตัวชี้วัด : จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)ร้อยละ 80
23.00 40.00

 

4 เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน
ตัวชี้วัด : จำนวนแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน ร้อยละ 60
40.00 40.00

 

5 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์
ตัวชี้วัด : จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด ไม่เกินร้อยละ 10
4.00 2.00

 

6 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนเป็นแกนนำ ป้องกันและเฝ้าระวังปัญหารการตั้งครรภ์ในวัยรุน
ตัวชี้วัด : ลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
0.00 0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 209
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 129
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 0
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง (2) เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (3) เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์ (4) เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน (5) เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ (6) เพื่อส่งเสริม สนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนเป็นแกนนำ ป้องกันและเฝ้าระวังปัญหารการตั้งครรภ์ในวัยรุน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดเสวนากลุ่มภาคีเครือข่าย (2) พัฒนาองค์ความรู้และสาธิตอาหารหญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด/ผู้ดูแลโดยนักโภชนาการ (3) พัฒนาทักษะการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ (4) ประชุมเชิงปฏิบติการcase  เสี่ยงสูง เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก (5) ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำเยาวชนในการขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพกลุ่มแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน อำเภอควนโดนจังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2562 จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 6

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายวัฒนชัย ไชยจิตต์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด