กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น
รหัสโครงการ L1473-01-007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้า
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 49,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุพัตรา ชุมแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาว์ดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.49,99.714place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2562 30 ก.ย. 2562 49,500.00
รวมงบประมาณ 49,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

"การตั้งครรภ์" หากเกิดขึ้นกับหญิงที่มีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นทางด้านสรีระร่างกายวัยภาวะด้านคุณวุฒิและวัยวุฒิก็คงเป็นเรื่องที่น่ายินดีและสร้างความสุขให้กับครอบครัวของหญิงนั้นๆแต่ถ้าหากเกิดขึ้นกับผู้ที่ยังเป็น "เด็กหญิง" ซึ่งมีอายุระหว่าง๙ - ๑๙ปีก็มักก่อเกิดปัญหาตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งต่อตัวเด็กเองและครอบครัวมีข้อมูลจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พบว่าสภาวะการตั้งครรภ์และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรของหญิงอายุต่ำกว่า๑๕ปีบริบูรณ์และหญิงอายุต่ำกว่า๒๐ปีบริบูรณ์ตั้งแต่ปี๒๕๔๐–๒๕60มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกปีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือท้องวัยทีนคือการตั้งครรภ์เมื่ออายุ๑๙ปีหรืออ่อนกว่านี้พบร้อยละ๑๐ – ๓๐ของการตั้งครรภ์ทั้งหมดนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สาคัญของทุกประเทศทั่วโลกใน๑๐ปีมานี้เองท้องในวัยทีนในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากร้อยละ๑๐ในปีพ.ศ. ๒๕๓๖เป็นกว่าร้อยละ๒๐ในปัจจุบันนอกจากนั้นอายุของคุณแม่วัยทีนนับวันยิ่งน้อยลงต่ำสุดพบเพียง๑๒ปีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท้องในวัยทีนได้แก่ฐานะยากจนเล่าเรียนน้อยดื่มสุราติดยาเสพติดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ยากแต่มีปัจจัยหนึ่งซึ่งน่าจะแก้ไขได้และเป็นปัจจัยที่ทำให้ท้องในวัยทีนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วคือค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นนั่นเอง วัยรุ่นหมายถึงกลุ่มบุคคลที่มีอายุระหว่าง๙ – ๑๙ปีซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายจิตใจอารมณ์และสติปัญญาโดยมีลักษณะสำคัญ๓ประการคือมีการพัฒนาทางร่างกายโดยเฉพาะมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศจนมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์มีพัฒนาการด้านจิตใจซึ่งเป็นระยะที่เปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นผู้ใหญ่และมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจสังคมโดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาครอบครัวมาเป็นผู้ที่สามารถประกอบอาชีพและมีรายได้ของตนเองหรือมีสิทธิทางกฎหมายในเรื่องต่างๆเช่นห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า๑๕ปีบริบูรณ์ทำงานเยาวชนที่มีอายุ๑๘ปีขึ้นไปหากกระทำผิดต้องขึ้นศาลผู้ใหญ่เป็นต้นในด้านพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจพบว่าวัยรุ่นอยากรู้อยากเห็นและอยากทดลองต้องการการยอมรับจากเพื่อนดังนั้นวัยรุ่นจึงเป็นวัยที่อาจถูกชักจูงได้ง่ายขาดความนับถือตัวเองรวมถึงขาดทักษะในการดาเนินชีวิตส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง (risk behavior) ในด้านต่างๆเช่นขับรถประมาทยกพวกตีกันดื่มสุราและใช้สารเสพติดมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวังส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นทั้งนี้พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวเป็นสาเหตุหนึ่งของการตายในวัยรุ่นโดยเฉพาะเพศหญิงได้แก่การทำแท้งเถื่อนการคลอดบุตรทั้งที่มีอายุน้อยการติดเชื้อ HIV ฯลฯซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้สังคมไทยในปัจจุบันตัวเลขวัยรุ่นไทยตั้งท้องในวัยเรียนสูงเป็นอันดับ๑ของเอเชียอาคเนย์และมีอัตราส่วนสูงกว่าวัยรุ่นในยุโรปและอเมริกาเฉลี่ยอายุของการตั้งครรภ์ในวัยเรียนน้อยสุด๑๒ปีและไม่เกิน๑๙ปีเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นกับวัยรุ่นไทยในอนาคตสถานีอนามัยตำบลโคกสะบ้าร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะบ้าจึงจัดทาโครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นตำบลโคกสะบ้าขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรักและเห็นคุณค่าของตัวเองเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักและองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคมพัฒนาการทางเพศการจัดการอารมณ์สัมพันธภาพทางเพศพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นการเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น

บรรลุตามวัตถุประสงค์

1.00
2 เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่นและมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

บรรลุตามวัตถุประสงค์

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 จัดทำโครงการ

2 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3 ประชุมชี้แจงโครงการกับเจ้าหน้าที่ สอ.ต.โคกสะบ้า

4  จัดอบรมให้ความรู้เรื่องนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3เรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างชายหญิงและการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

5  ติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโดย อสม

6  สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เด็กและเยาวชนมีทักษะและภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ\n
  • เด็กและเยาวชนมีความภาคภูมิใจในตนเองและมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2562 13:28 น.