กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รหัสโครงการ 60-L4135-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บุดี
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 16,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมคิด สุวรรณสังค์
พี่เลี้ยงโครงการ สุชาดา สุวรรณคีรี
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ หมู่ที่ 3-4-5-6-7 ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันนี้ แม้การแพทย์จะสามารถเอาชนะโรคร้ายต่างๆมากมาย ทำให้ประชากรโลกรอดพ้นจากการเจ็บป่วยเหล่านั้นและมีอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่จำนวนคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเรียกรวมกันว่า เมตะบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) กลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในปัจจุบัน คือการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนอ้วน เพราะอุปนิสัยการกินอยู่ที่เปลี่ยนไป มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงในการใช้ชีวิตประจำวัน กินอาหารที่มีไขมันเพิ่มขึ้น ซึ่งไขมันที่สะสมอยู่ที่พุงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นตัวนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ จากสถิติ พบอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2551 - 2555 สูงขึ้นเป็น 3.90 , 3.62, 3.89, 5.71 และ 5.73 ตามลำดับ และพบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ.2551 - 2555 สูงขึ้นเป็น 12.22, 11.06, 10.76, 11.88 และ 12.06 ตามลำดับ (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, 2556) นอกจากนี้ยังพบว่า โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ยังเป็นสาเหตุการตายใน 5 อันดับแรกของคนไทย ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลก ความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความหนาแน่น มีความเครียดมากขึ้นส่งผลให้ประชาชนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะบริโภคอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารจานด่วนซึ่งปริมาณของเกลือหรือธาตุโซเดียม น้ำตาลและไขมันสูง เป็นต้น
ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี พบอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2557 – 2559 สูงขึ้นเป็น 20.38,23.91และ21.90 ตามลำดับตามลำดับ และพบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ.2557 - 2559 สูงขึ้นเป็น 7.10,7.40และ 6.17 ตามลำดับจากการคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปี 2560 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 18.89 และกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ2.03 และผลการวิเคราะห์พฤติกรรมด้วยแบบ"ตนเตือนตน ด้วย 3อ.2ส." พบพฤติกรรมเสี่ยงด้านต่างๆดังนี้ กลุ่มเสียงความดันโลหิตสูง จำนวน 353 คน พฤติกรรมเสี่ยงด้านอาหาร คิดเป็นร้อยละ 76.52 ด้านการออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 34.23 ด้านการสูบบุหรี่ 19.26 กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 43 คน พฤติกรรมเสี่ยงด้านอาหาร คิดเป็นร้อยละ 69.32 ด้านการออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 46.08 ตามลำดับ นอกจากนี้กลุ่มเสี่ยงมีรอบเอวเกิน คิดเป็นร้อยละ 22.65 เป็นต้น ดังนั้น เพื่อลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี จึงได้จัดทำแผนงาน/โครงการ โดยนำหลักการ 3 อ. 2 ส. ซึ่งประกอบด้วย 3 อ. ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ 2 ส. ได้แก่ สูบบุหรี่ สุรา เพื่อให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงพฤติกรรมของการเกิดโรค และสามารถรับผิดชอบในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดจนดำรงรักษาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

 

2 2. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงลดพฤติกรรมเสี่ยงและสามารถดูแลสุขภาพตนเองขั้นพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม

 

3 3. เพื่อร่วมพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
17 - 18 ส.ค. 60 จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในประชากรกลุ่มเสี่ยง 100 16,900.00 16,900.00
รวม 100 16,900.00 1 16,900.00

วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ 1. รวบรวมข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ทั้ง 5 หมู่บ้าน 2. ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมให้ข้อมูล วาง และร่วมชี้แจงโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 3. จัดทำแผนงาน/โครงการเสนอคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเพื่อพิจารณา
4. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 5. ประชาสัมพันธ์โครงการ 6. จัดเตรียมเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม ขั้นดำเนินการ
1. ประเมินภาวะ BMI วัดรอบเอว รอบสะโพก ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) และวัดความดันโลหิตสูงก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 2. จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยใช้หลัก 3อ2ส 3. ติดตามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงหลังได้รับการอบรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงลดพฤติกรรมเสี่ยงและสามารถดูแลสุขภาพตนเองขั้นพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม
  3. สามารถพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2560 10:40 น.