กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ จัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กรณีความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 2562-L3317-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา
วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 กุมภาพันธ์ 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 38,560.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.716,99.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในระดับประเทศย้อนหลัง ปี พ.ศ.๒๕๕๖ มีจำนวนผู้ป่วย ๑,๐๔๗,๙๗๙ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๖๒๑.๗๑ ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.๒๕๕๗ มีจำนวนผู้ป่วย ๑,๑๑๑,๓๑๑ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๗๑๐.๘๙ ต่อแสนประชากร และปี พ.ศ.๒๕๕๘ มีจำนวนผู้ป่วย ๑,๒๓๑,๙๑๙ คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๘๙๔.๔๖ ต่อแสนประชากร และสถิติจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ปี พ.ศ.๒๕๕๖ มีจำนวนผู้ป่วย ๖๙๘,๗๒๐ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๐๘๑.๒๑ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๕๗ มีจำนวนผู้ป่วย ๖๗๐,๖๖๔ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๐๓๒.๕๒ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๕๘ มีจำนวนผู้ป่วย ๘๐๒,๐๑๗ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๒๓๓.๓๕ ต่อแสนประชากร ตามลำดับ       จังหวัดพัทลุง สถิติจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในระดับประเทศย้อนหลัง ปี พ.ศ.๒๕๕๖ มีจำนวนผู้ป่วย ๘,๐๕๐ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๕๕๙.๓๐ ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.๒๕๕๗ มีจำนวนผู้ป่วย ๗,๗๔๙คน คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๔๙๒.๔๓ ต่อแสนประชากร และปี พ.ศ.๒๕๕๘ มีจำนวนผู้ป่วย ๙,๗๙๔ คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๘๗๘.๓๓ ต่อแสนประชากร และสถิติจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ปี พ.ศ.๒๕๕๖ มีจำนวนผู้ป่วย ๔,๖๖๖ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๙๐๓.๘๑ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๕๗ มีจำนวนผู้ป่วย ๔,๕๗๔ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๘๘๐.๙๔ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๕๘ มีจำนวนผู้ป่วย ๕,๔๔๖ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๐๔๔.๔๖ ต่อแสนประชากร ตามลำดับ       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจันนา มีจำนวนสถิติและอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงย้อนหลัง ปี พ.ศ.๒๕๕๙ มีจำนวนผู้ป่วย 221 คน คิดเป็นอัตราป่วย 8,932.9๐ ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.๒๕๖๐ มีจำนวนผู้ป่วย 246 คน คิดเป็นอัตราป่วย 9,943.41 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.๒๕๖๑ มีจำนวนผู้ป่วย 258 คน คิดเป็นอัตราป่วย ๑0,428.46 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และจำนวนสถิติและอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานย้อนหลัง ปี พ.ศ.๒๕๕๙ มีจำนวนผู้ป่วย 105 คน คิดเป็นอัตราป่วย ๔,244.๑4 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.๒๕๖๐ มีจำนวนผู้ป่วย 117 คน คิดเป็นอัตราป่วย ๔,729.1๘ ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.๒๕๖๑ มีจำนวนผู้ป่วย 124 คน คิดเป็นอัตราป่วย 5,012.1๓ ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จากสถิติดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

1200.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง

กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

0.00
3 เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) มารับการเจาะFBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL ได้รับการเจาะFBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

0.00
4 .เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับบริการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,060.00 0 0.00
1 มี.ค. 62 - 30 เม.ย. 62 คัดกรองคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป 0 35,060.00 -

๑. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ๒. จัดทำแผนงานโครงการ/ขออนุมัติโครงการ/จัดซื้อวัสดุการแพทย์       ๓. ชี้แจงให้ อสม.ทราบขั้นตอนการคัดกรอง และนัดกลุ่มเป้าหมาย ๔. ออกดำเนินงานคัดกรองตามแผนที่กำหนดไว้ 5. รวบรวมข้อมูล ลงบันทึกผลการปฏิบัติงานในโปรแกรม JHCIS 6.ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่ จ่ายยารักษา ตาม CPG หลังติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำแล้วยังมีค่าความดันฯตัวบนมากกว่า ๑๔๐และ/หรือ ตัวล่างมากกว่า 90 มม.ปรอท,และค่าน้ำตาลจากหลอดเลือดดำ (FBS) มากกว่า 126 มก.เปอร์เซ็นต์
      7. จัดกิจกรรมให้บริการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ       8. รวบรวมข้อมูล/บันทึกผลงาน       9. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงร้อยละ ๙5       2.ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันได้ร้อยละ 60       3. อัตราการเกิดเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 2.4       ๔. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.       ๕ กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) ได้รับการเจาะFBS ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐       ๖. ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความเสี่ยง CVD risk ลดลง
      7. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้าตามเกณฑ์มาตรฐาน ได้รับการส่งต่อในรายที่พบภาวะผิดปกติทางเท้า

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2562 21:16 น.