กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซีส
รหัสโครงการ 2560-L3351-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม .หมู่ที่ 8 ตำบลโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 4 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 พฤษภาคม 2560 - 31 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชรินทร์หนูเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.615,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลทางระบาดวิทยา 5 ปี จากปี 2555-2559 พบว่าจำนวนอำเภอเมืองพัทลุงมีแนวโน้มการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิส(ไข้ฉี่หนู)เพิ่มขึ้นทุกปี อัตราป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีส เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 20/แสนประชากรคือ ๒๑.๑๕และในปี 2558 อำเภอเมืองพัทลุงได้มีผู้ป่วยทั้งหมด ๖ รายในตำบลโคกชะงายมีผู้ป่วย4ราย และเสียชีวิต1ราย อยู่บ้านเลขที่ ๑๓๑หมู่ที่ ๘ตำบลโคกชะงายคิดเป็นอัตราป่วย ๓๒.๙๑ ต่อแสนประชากรและอัตราป่วยตายเกินเกณฑ์กำหนด ในภาพรวมของจังหวัดอัตราป่วยตายยังเป็นปัญหาของจังหวัด หากดูจำนวนผู้เสียชีวิตก็เป็นจำนวนที่มากเมื่อเทียบกับความสามารถในการตรวจรักษาและเครื่องมือที่ทันสมัยในปัจจุบันแต่ก็ยังไม่เป็นที่วางใจเนื่องจากโรคเลปโตสไปโรซีส มีอาการดำเนินของโรคที่อวัยวะสำคัญและมีความรุนแรงของอาการทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว จากที่ได้ทำการสอบสวนทางระบาดวิทยาและสอบสวนโรคในรายที่ผู้ป่วยเสียชีวิต พบว่าพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคและพฤติกรรมสุขภาพเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย ประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแลตนเอง มารับการรักษาเมื่อมีอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเลปโตสไปโรซีส มีอาการดำเนินของโรคที่อวัยวะสำคัญและมีความรุนแรงของอาการทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารสุขหมู่ที่ ๘ ตำบลโคกชะงาย ได้ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีส โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งให้ประชาชน ครอบครัว ชุมชน มีทัศนคติ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขปฏิบัติที่ดีขึ้นเพื่อช่วยป้องกันการเจ็บป่วย และมีการเฝ้าระวังอาการการเจ็บป่วยได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยของผู้ป่วยในพื้นที่

อัตราป่วยไม่เกิน 20 /แสนประชากร

2 ประชาชนผู้เจ็บป่วยได้รับการตรวจและรักษาอย่างทันเวลา เพื่อลดอัตราป่วยตาย

1.ไม่ให้เกินร้อยละ 2 2.กลุ่มเสี่ยงที่มีอาการสงสัย ได้รับการตรวจคัดกรอง และส่งต่อ เพื่อรับการรักษาทันทีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ลงพื้นที่สอบสวนโรคทันทีที่ได้รับรายงานโรคจากโรงพยาบาล โดยสอบให้ได้ถึงแหล่งที่ผู้ป่วยรับเชื้อและพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อโรคเลปโตสไปโรซิส ตามแนวทางการสอบสวนโรคหากพบว่าแหล่งรังโรคอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบให้รีบดำเนินการทำลายแหล่งรังโรคทันที 2.ระดมทีม SRRT และ อสม. ค้นหา ติดตามผู้สัมผัสโรคจากแหล่งรังโรคเดียวกันในพื้นที่รวมทั้งผู้ที่มีอาการสงสัยในพื้นที่ให้การรักษาชั้นต้นหากมีอาการสงสัยเป็นเลปโตสไปโรซิสตามแบบฟอร์มการค้นหาผู้ป่วยโรคไข้ฉี่หนูของ อสม. 3. ประกาศเตือนหรือแจ้งข่าวการระบาดให้ประชาชนในพื้นที่ทราบว่ามีการระบาดของโรคเลปโต สไปโรซิสในพื้นที่ติดป้านเตือนพื้นที่เสี่ยงประกาศหอกระจายข่าว รถประชาสัมพันธ์หรือในหรือในที่ประชุม แจกแผ่นพับพร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องอันตรายของโรคนี้ว่าทำให้เกิดอันตรายถึง ตาย ในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนตระหนักและเน้นให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเช่นกลุ่มเกษตรกรป้องกันตนเองเช่น สวมใส่รองเท้าบู๊ทถุงมือยางขณะต้องออกทำงานในเรือกสวนไร่นาหรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ ๔. ประสานความร่วมมือไปยังเทศบาลในพื้นที่เพื่อประสานความร่วมมือและระดมทรัพยากรในการควบคุมการระบาดของโรคให้สงบโดยเร็ว ๕. ระดมความร่วมมือความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่โดยจัดให้มีการพบปะประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อระดมความร่วมมือในการหยุดยั้งการระบาดของโรคในพื้นที่ ๖. รณรงค์พร้อมกันทั้งหมู่บ้านในการกำจัดหนูปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์อาศัยของหนู

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชน ครอบครัว ชุมชน มีทัศนคติ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขปฏิบัติที่ดีขึ้น ๒. ประชาชนผู้เจ็บป่วยได้รับการตรวจและรักษาอย่างทันเวลาอัตราป่วยลดลง ๓.ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2560 13:50 น.