กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดเกษตรกร
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดสวาท บุญรุ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.507,100.061place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากผลการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ปี 2561 โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน นาโหนด พบว่ามีประชาชนมีความเสี่ยง ร้อยละ ๒๒.๓๑ ไม่ปลอดภัยร้อยละ ๘.๔๖
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสังคมปัจจุบัน สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้เข้ามามีบทบาทในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร องค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติ (Food and Agiculture Oganization) สำรวจพบว่า อัตราเพิ่มของอาหาร (ผลผลิตทางการเกษตร) จะเป็นปฏิภาคกับอัตราการเพิ่มการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ที่สำคัญคือแมลงศัตรูพืช ซึ่งมีประมาณ ๑๐,๐๐๐ ชนิด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกร อย่างมากมายในแต่ละปี สอดรับกับ ผลงานการวิจัยการเจ็บป่วยของคนไทยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของ นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ ปี ๒๕๕๑ ที่จังหวัดเชียงใหม่ พบผู้บริโภคที่มีสาเคมีตกค้างระดับไม่ปลอดภัยและเสี่ยงมากถึง ๗๕ % ส่วนเกษตรกรอีก ๖๐% ไม่ได้กินแต่ได้รับสารพิษจากการฉีดพ่น
จากผลการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ปี ๒๕61 โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน นาโหนด พบว่ามีระดับปกติร้อยละ ๑๖.๙๒ ระดับปลอดภัย ร้อยละ ๕๒.๓๑ ระดับเสี่ยง ร้อยละ ๒๒.๓๑ ไม่ปลอดภัยร้อยละ ๘.๔๖ จากข้อมูลดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นปัญหาสุขภาพของประชาชน และส่วนใหญ่กลุ่มที่มาคัดกรองจะเป็น ผู้ฉีดพ่นเองและผู้สัมผัส ซึ่งสารเคมีเหล่านี้มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอีกด้วย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง  ได้จัดทำโครงการตรวจหารสาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดเกษตรกร เพื่อให้ประชาชนที่มีอาชีพเกษตรในเขตรับผิดชอบมีความรู้ในการป้องกันตนเอง และได้รับการตรวจหารสาสารเคมีตกค้างในเลือด เพื่อให้ตระหนักถึงการใช้เคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้เกษตรกรในเขตรับผิดชอบ มีความรู้ และเข้าใจเรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง ถูกวิธี

เกษตรกรในเขตรับผิดชอบ มีความรู้ และเข้าใจเรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง ถูกวิธี

100.00
2 ๒. เพื่อให้เกษตรกรในเขตรับผิดชอบ ได้รับการตรวจหารสาสารเคมีตกค้างในเลือด

เกษตรกรในเขตรับผิดชอบ ได้รับการตรวจหารสาสารเคมีตกค้างในเลือด

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย ๒. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ ๓. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. เพื่อติดตามกลุ่มดังกล่าว ๔. ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย และตรวจหารสาสารเคมีตกค้างในเลือด
๕. สรุปผลการคัดกรอง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนมีความตระหนักในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และรู้จักวิธีป้องกัน
    ๒. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านนาโหนด  ๓. เพื่อนำข้อมูลใช้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2562 13:53 น.