กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L5248-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขรพ.สต.หัวถนน
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2562
งบประมาณ 21,660.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญศรี ชวลิตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน โรงเรียนบ้านหัวถนน โรงเรียนบ้านยางเกาะ
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 230 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึงร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้จังหวัดสงขลาจะมีการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานสุขาภิบาล และมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตามแต่ยังมีพิษจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแผงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องการสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า เอนำกล่องโฟม (Potystyrene) ไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูง หรือที่มีไขมัน หรือน้ำมัน จะมีสารพาออกมาปนเปื้อนในอาหารซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (Corcinogen) ได้แก่ สารสไตรีน (Styrene) ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซิน (BenZene) ออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูก ทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท (Pthalate) เป็นสารทำลายระบบสืบพันธุ์ ก่อให้เกิดผลกระทบสุขภาพของผู้บริโภค และการจากสำรวจปริมาณขยะตั้งแต่มีการควบคุมมลพิษ พบว่า ขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ใบ/คน/วัน โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น หรือแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี ซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องการต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งอวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และก่อเกิดภาวะโลกร้อยอีกทางหนึ่ง จากข้อมูล ร้านอาหาร และแผลลอยจำหน่อยอาหารในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน รวมทั้งหมด 10 ร้าน ซึ่งยังใช้โฟมเป็นภาชนะบรรจุอาหาร ดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอันตรายจากการใช้โฟม และหน่วยงานสาธารณสุขยังเป็นพื้นที่นำร่องที่จะ ลด ละ เลิกการใช้โฟมเป็นภาชนะบรรจุอาหาร จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารในโรงเรียน ได้ทำบันทึกข้อตกลงระหว่าง รพ.สต.และร้านค้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบ ลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร

ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารในโรงเรียนทำบันทึกข้อตกลง ลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร

0.00
2 เพื่อให้ประชาชน และนักเรียน มีสุขภาพดี ห่างไกลจากสารพิษที่ปนเปื้อน

ประชาชน และนักเรียนมีพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารที่หลีกเลี่ยงการบรรจุด้วยภาชนะโฟม

0.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะประเภทโฟมในชุมชน

ปริมาณขยะที่เก็บและกำจัดมีปริมาณลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมเอกสารสถานการณ์การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน ชุมชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อจัดทำโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อของบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก
  3. ติดต่อประสานงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงเรียน และผู้นำชุมชน
  4. ประชุมชี้แจงโครงการแก่คณะกรรมการหมู่บ้าน และ อสม.
  5. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  6. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร และสถานที่
  7. ดำเนินงานตามกิจกรรม โครงการที่กำหนดไว้ จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

- ร้านอาหาร , แผงลอยจำหน่ายอาหาร , ประชาชนทั่วไป จำนวน 230 คน - ครู นักเรียน ผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน จำนวน 100 คน
เพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายจากสารพิษที่จะปนเปื้อนเข้ามาให้อาหาร และการเลือกใช้ภาชนะทดแทนที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ จากนั้นทำบันทึกข้อตกลงกับร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ชุมชน จำนวน 10 ร้าน
8. สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สร้างแหล่งเรียนรู้ ชุมชนต้นแบบ
  2. ประชาชน และนักเรียน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพมากขึ้น
  3. สร้างความตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะบรรจุโฟม และเลือกใช้ภาชนะทดแทนที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
  4. ลดปริมาณขยะในบ้านเรือนและชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2562 15:04 น.