กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างความตระหนักให้กับพ่อต่อวัคซีนลูก
รหัสโครงการ 60-L4150-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮิลมีดาโอ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศนั้น ต้องมีพื้นฐานสุขภาพที่ดีและห่างไกลโรคภัย งานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในเด็ก 0-5 ปี จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันโรควัณโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ไข้สมองอักเสบ หัด หัดเยอรมัน คางทูม และโปลิโอ ซึ่งโรคดังกล่าวนี้ทำให้สุขภาพของคนในประเทศชาตินั้น เจ็บป่วยร่วมกับสูญเสียภาพลักษณ์ และความรุนแรงสูงสุดสามารถทำอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้นถ้าเด็กได้รับวัคซีน 0-5 ปี ครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนด จะสามารถป้องกันโรคดังกล่าวได้ดี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของบุคคลในชาติมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข คนไทยห่างไกลโรคภัย จากการดำเนินงานส่งเสริมภูมิคุ้มกันโรค ที่ผ่านมาของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านลากอ ปี 2559 พบว่ามีเด็กจำนวน 510 คน ไม่รวมเด็กที่เคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่พร้อมกับผู้ปกครอง เกิน 6 เดือน และเด็กนอกพื้นที่ เด็กได้รับวัคซีน ครบชุดตามเกณฑ์ 1 ปี ร้อยละ 96.55 เด็กรับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ 2 ปี ร้อยละ 89.72 เด็กได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ 3 ปี ร้อยละ 97.92 และวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ 5 ปี ร้อยละ 93.59 ( ข้อมูลจากการสรุปผลการปฏิบัติงานโภชนาการเด็ก0 – 5ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 58 – 30 กันยายน 59 ) พบว่าเด็กที่ไม่มารับวัคซีนครบตามเกณฑ์ส่วนใหญ่จะมาจากครอบครัวไม่ให้ความสำคัญกับการรับวัคซีนของเด็กโดยเฉพาะพ่อ ส่วนใหญ่ที่พาลูกมาฉีดวัคซีนจะเป็นแม่โดยส่วนใหญ่ และแม่บางคนก็แอบพาลูกมาฉีดวัคซีน เพราะพ่อจะไม่ค่อยให้มาฉีดกลัวจะไม่สบาย กลัวจะทำงานไม่ได้ พ่อห่วงลูกแบบผิด คือ กลัวลูกเจ็บเมื่อมาฉีกวัคซีนโดยไม่กลัวการระบาดของโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต พ่อมีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับการรับวัคซีนพ่อขาดความตระหนักเกี่ยวกับการรับวัคซีน ขาดแรงจูงใจในการมารับวัคซีน และไม่มีความรู้เรื่องผลข้างเคียงของวัคซีนที่รับ
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านลากอ จึงได้จัดโครงการสร้างความตระหนักให้กับพ่อต่อวัคซีนลูก โดยเน้นการสร้างความตระหนักให้พ่อเป็นหลัก มีความกระตือรือร้น โดยการกระจายข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ ผ่านผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และแกนนำสุขภาพประจำบ้าน เพื่อให้ทุกส่วนของชุมชนได้รับรู้ ตระหนักถึงความสำคัญ และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กในอนาคต จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ย้อนหลัง 3 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ พบว่า การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ดังตารางดังนี้
ปีงบประมาณ กลุ่มอายุที่ได้รับวัคซีนครบชุด ครบ 1 ปี ครบ 2 ปี ครบ 3 ปี ครบ 5 ปี 2557 2558 2559 96.88 % 96.26 % 96.55 % 96.55 % 96.88 % 89.72 % 93.59 % 96.55 % 97.92 % 79.78 % 87.50 % 93.59 %

จากตาราง จะพบว่าการได้รับวัคซีนของกลุ่มอายุต่างๆ ไม่สามารถบรรลุตามเกณฑ์ตัวชี้วัด (ตัวชี้วัดปี 2560 ได้รับวัคซีนครบชุด ไม่ต่ำกว่า 90 %) ซึ่งจะต้องมีการเร่งรัดการรับวัคซีนเพิ่มขึ้น โดยการดำเนินงาน ในเชิงรุก การให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่เด็กและผู้ปกครอง การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก โดยเฉพาะพ่อที่ไม่ค่อยสนใจลูก ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เพื่อปรับพฤติกรรม และมีความตระหนัก และร่วมมีบทบาทในการทำงานเชิงรุก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านลากอ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ได้เห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการสร้างความตระหนักให้กับพ่อต่อวัคซีนลูก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กลยุทธ์และวิธีการดำเนินงาน
    กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างแกนนำครอบครัว การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และการจัดนิทรรศการ เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลกระทบของการไม่ได้รับวัคซีน กิจกรรม
  2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่อง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ในช่วงก่อนการละหมาดวันศุกร์ หอกระจายเสียงโรงเรียน เดินรณรงค์ ฯลฯและจัดนิทรรศการ เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างถูกต่อเนื่อง และยั่งยืน
  3. อบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่อง โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และถอดบทเรียนในการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยกลุ่มแกนนำต่างๆ, ผู้ปกครองเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีในทุกหมู่บ้านที่รับวัคซีนครบชุด เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นในเขตรับผิดชอบ  จัดทำเนื้อหาหลักสูตร เน้น การนำความรู้สู่การปฏิบัติ  ประสาน กลุ่มเป้าหมาย จัดเตรียมวัสดุการอบรม และเตรียมสถานที่  ดำเนินการอบรมตามตารางอบรม จำนวน 1 วัน  สรุปผล
  4. จัดหาและทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ แผ่นพับภาพพลิกและวีดีทัศน์ โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มากที่สุด

กลยุทธ์ที่ 2 การเยี่ยมบ้าน ติดตามในเชิงรุก
กิจกรรม 1. ขึ้นทะเบียนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทุกราย ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ 2. จัดทำแผนการเยี่ยมบ้าน และเยี่ยมติดตามเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีให้มารับวัคซีน โดย จนท.ร่วมกับ อสม. 3. อสม./แกนนำ/จนท.ติดตามเด็กมารับวัคซีนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ กลยุทธ์ที่ 3การควบคุมกำกับ และการประเมินผล กิจกรรม 1. ติดตามผลการดำเนินงาน 2. ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ เพื่อประเมินเรื่องปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการและแนวทางการแก้ไข 3. ติดตามผลงานการรับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรค และสรุปผลงานทุกเดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราการรับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปีให้ครบตามเกณฑ์ในแต่ละช่วงวัย มากกว่าร้อยละ 90 2.เพื่อให้พ่อเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการรับวัคซีนตรงตามเกณฑ์ในระดับดีได้มากกว่าร้อยละ 70
3.ไม่มีอัตราป่วยด้วยโรค ที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนของเด็กต่ำกว่า 5 ปี ดังนี้ • ลดอัตราป่วยด้วยโรคหัดไม่เกิน 8 ต่อประชากรแสนคน • อัตราป่วยโรคบาดทะยักในทารกแรกเกิดไม่เกิน 1ต่อ ประชากรเด็กแรกเกิด 1,000คน • อัตราป่วยโรคคอตีบ ไม่เกิน 0.02ต่อประชากร 100,000คน • อัตราป่วยโรคไอกรน ไม่เกิน 0.08ต่อประชากร 100,000คน อัตราป่วยโรคไข้สมองอักเสบเจอี ไม่เกิน 0.25ต่อ ประชากร 100,000คน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2017 10:00 น.