กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2508-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 15 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิอาซิ นิจินิการี
พี่เลี้ยงโครงการ นาย มูหมัด อีอาซา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 14 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 14 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 23,500.00
รวมงบประมาณ 23,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 900 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมารัฐบาลจึงได้มีนโยบายด้านสุขภาพของรัฐบาลได้เน้นการส่งเสริม ป้องกันให้มากขึ้นโดยเฉพาะเชิงรุก และการส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพทั้งตนเอง ชุมชน ปัจจุบันโรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาระดับประเทศ  โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรค นอกจากจะเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข ของประเทศไทยแล้วยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นเขตร้อนชื้น เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedesaegyitตัวเมียกัดคนที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็กและในปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคกับผู้ใหญ่และมีจำนวนมากขึ้นทุกปี โรคนี้มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการและชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าว เป็นต้น ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล ได้มีการระบาดในปี ๒๕๖๑ จำนวน ๙ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๑๗๗.๒๔ ต่อแสนประชากร ถ้าขาดความเอาใจใส่ความสะอาดในครอบครัวของชุมชนเองด้วย ในปี ๒๕๖๒ มีโอกาสที่จะเกิดโรคไข้เลือดในพื้นที่ ฉะนั้นกลวิธีที่สำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกคือ การร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายในชุมชนทั้งภาครัฐและภาคประชาชนดำเนินการหาแนวทางปฏิบัติโดยชุมชนต้องมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกซ้ำซาก ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะโล ตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อหาแนวทางปฏิบัติร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
  • กลุ่มเป้าหมายเข้ามามีส่วนร่วม ร้อยละ ๑๐๐
0.00
2 ๒. เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก
  • ค่า BI ไม่เกิน ร้อยละ ๕๐ และ ค่า CI HI ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ตัวชี้วัดผลลัพธ์
0.00
3 ๓. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน มัสยิดลดค่า CI HI ในหมู่บ้าน
  • อัตราป่วยไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร
0.00
4 ๔. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  • ไม่มีอัตราตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 400 23,500.00 4 23,500.00
1 ก.ค. 62 กิจกรรมเยียวยาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 100 5,250.00 5,250.00
11 ก.ค. 62 กรรมสร้างกระแสทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง 100 11,500.00 11,500.00
5 ส.ค. 62 พ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง 100 3,000.00 3,000.00
19 ส.ค. 62 รณรงค์กิจกรรม 5ป 1 ข 100 3,750.00 3,750.00

กิจกรรมดำเนินงาน ส่วนที่ ๑ ๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านสะโลเพื่อร่วมจัดทำโครงการ ๒. ดำเนินการจัดทำโครงการและเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ และดำเนินการตามโครงการ ส่วนที่ ๒ ๑. ประชุม กรรมการชมรม อสม.รพ.สต.บ้านสะโล เพื่อดำเนินการ ๒. แจ้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร(อสม.) และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ ๓. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอบต. โรงเรียน ชุมชน รพ.สต. และอื่นๆร่วมกันวางแผนดำเนินการ ๔. ดำเนินการตามกิจกรรม ๕. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน ๖. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ๗. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียน แกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)โดยวิธี ทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนร่วมโรงเรียน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียนโดยอสม. และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด ทางชีวภาพ ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวการปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ๘. แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ ๙. สรุปโครงการรายงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก ๑๐. ติดตามความก้าวหน้าของโครงการหลังดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและภาคีเครือข่ายในพื้นที่มีการตื่นตัวและตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและมีส่วนร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และประชาชนมีความรู้ที่สามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดด้วยตนเองได้ ทำให้ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (BI,CI,HI) ลดลง ส่งผลให้อัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับที่ไม่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2562 15:37 น.