กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ฝากครรภ์แม่ลูกปลอดภัย ฝากให้ไว ลดภาวะซีด ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2508-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 31 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิอาซิ นิจินิการี
พี่เลี้ยงโครงการ นาย มูหมัด อีอาซา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 14 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 14 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 37,350.00
รวมงบประมาณ 37,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) ด้านแผนงานสาธารณสุขได้เน้นให้ประชาชนมีสุขภาพดีเน้นย้ำเป็นรูปธรรมให้มีการดูแลสุขภาพตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งโยบายสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติส่งเสริมให้ประชาชนสร้าง นำซ่อม สอดรับแผนดังกล่าว โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยมุ่งเน้นให้คนไทยเข้าถึงบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมากขึ้น โดยเฉพาะในงานอนามัยแม่และเด็ก การฝากครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มากในทางสูติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ ไม่ได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะมีโอกาศเกิดภาวะเสี่ยงหรือได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์ และการคลอดมากกว่า และรุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจครรภ์และดูแลครรภ์อย่างถูกต้องและทันเวลา และต่อเนื่องสม่ำเสมอ ภาวะเสี่ยงต่างๆ อาจมีระดับของอันตรายถึงชีวิตของมารดาหรือทารกได้หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมไปถึงสามีและญาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ ก็จะสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจและเห็นความสำคัญของการคลอดในสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ได้ ช่วยลดปัญหามารดาตายคลอดจากการตกเลือดหลังคลอด ทารกตายปริกำเนิด รวมถึงการติดเชื้อหลังคลอด ที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตของมารดาและทารกได้ จะเห็นได้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะสามารถ ดูแลครรภ์และคลอดได้อย่างปลอดภัย มีบุตรที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องประกอบกับปัจจัยหลายๆด้าน จากสถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกยาง พบว่ายังมีปัญหาอีกหลายอย่าง ที่หญิงตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบหรือไม่เห็นความสำคัญ เช่น ความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หากหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ล่าช้าและผลเลือดที่เจาะคัดกรองมีผลผิดปกติในบางตัว เช่น การติดเชื้อ HIV หากไม่ได้รับประทานยาต้านเชื้อแต่เนินๆ เชื้อก็สามารถแพร่กระจายไปยังลูกในครรภ์ได้ หรือภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ขณะตั้งครรภ์ตลอดจนภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นขณะคลอด และหลังคลอด เช่น ภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ ภาวะเด็กดิ้นผิดปกติ ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด ภาวะคลอดยาก และภาวะตกเลือดหลังคลอด การปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ ความสำคัญของการตรวจหลังคลอด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารก และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การไม่มาฝากครรภ์ตามนัดหมาย จึงส่งผลให้ไม่สามารถดุแลครรภ์ได้ตามเกณฑ์คุณภาพของการฝากครรภ์ ปัญหาเหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลกระทบถึง คุณภาพชีวิตของมารดาและทารกตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ จนถึงระยะหลังคลอด รวมไปถึงพัฒนาการของเด็กหลังคลอด และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการที่จะทำให้ชุมชน บุคคลใกล้ชิดและหญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลครรภ์ให้มีคุณภาพและคลอดบุตรที่มีคุณภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่หญิงตั้งครรภ์และทุกคนที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องรับรู้เกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการดูแลตนเองและบุตรเมื่อคลอดอย่างถูกวิธี จากการดำเนินการงานอนามัยแม่และเด็กในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสะโล อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ในปี ๒๕๖1 ยังเป็นปัญหาที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการแก้ไขในลำดับต้นเนื่องจาก ยังมีตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์ จำนวน 3 ราย ในส่วนที่ทราบและยังไม่สามารถเปิดเผยอีกมาก การมีภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์อยู่สูงมาก ภาวะโลหิตจาง ร้อยร้อยละ ๒๘.23 ของหญิงมีครรภ์ทั้งหมด ซึ่งเกินจากเกณฑ์ และส่งผลต่อภาวะซีดในหญิงมีครรภ์แล้วจะส่งผลต่อเด็กในครรภ์ด้วยทำให้เด็กเกิดมาไม่สมบูรณ์ได้
ดังนั้นเพื่อทำการแก้ไขภาวะซีดดั่งกล่าว ตั้งแต่ระหว่างตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอด ทางรพ.สต.บ้านสะโล จึงมีแนวคิดที่แก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ได้ครบถ้วนทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตต่อไป จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นและขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ส่งเสริมไม่ให้มีการตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์
  • ไม่มีการตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์
0.00
2 2. เพื่อให้หญิงมีครรภ์ได้รับการเฝ้าระวัง ปัจจัยเสี่ยง และแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างทันท่วงที
  • หญิงตั้งครรภที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด ไม่เกินร้อยละ ๑๐
0.00
3 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ
  • มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด ๓ ครั้ง ตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐
0.00
4 4. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
  • หญิงตั้งครรภ์ครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐
  • ไม่มีมารดาตายและทารกตายปริกำเนิด
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 207 37,350.00 4 36,600.00
2 ก.ย. 62 สนับสนุนอาหารเสริมในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด 30 12,000.00 12,000.00
4 ก.ย. 62 กิจกรรม mobile clinic 57 9,600.00 9,600.00
6 ก.ย. 62 แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ สาธิตอาหาร 60 6,000.00 6,000.00
13 ก.ย. 62 กิจกรรมหมอรักน้องสอนให้ห่างไกลการตั้งครรภ์ไม่พึงประสง 60 9,750.00 9,000.00

กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมที่ ๑ ประชุมเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ชี้แจงการดำเนินการโครงการ กิจกรรมที่ ๒ จัดอบรมให้ความรู้วัยใสเสริมทักษะชีวิตแบบซุนนะฮ์ไร้ซีนา
กิจกรรมที่ ๓ จัดกิจกรรม Mobile Clinic ตามแผนที่ผู้รับผิดชอบงานวางไว้ กิจกรรมที่ ๔ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดูแลตนเอง โรงเรียนพ่อ-แม่ โดยจัดกิจกรรมที่โรงพยาบาลชุมชน รพ.สต. และในชุมชน โดยแบ่งการอบรมออกเป็น ๓ ครั้ง วิชาการเรื่อง
    - การดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
    - ส่งเสริมทันตสุขภาพ
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน     - ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๖ เดือน
กิจกรรมที่ ๕  กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.เชี่ยวชาญด้านแม่และเด็ก งานโภชนาการ และจัดซื้อชุดอุปกรณ์เยี่ยมบ้าน-เยี่ยมหลังคลอดสำหรับ อสม. เพื่อดำเนินงานในหมู่บ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ PCU / รพ.สต. ดังนี้   - งานป้องกันและดูแลการตั้งครรภ์กลุ่มแม่อายุต่ำกว่า ๒๐ปี ในชุมชน
  - ติดตามการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์   - ติดตามการฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งคุณภาพ
  - เยี่ยมหลังคลอดตามเกณฑ์
  - ดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม
  - ส่งเสริมทารกกินนมแม่ ๖ เดือน รายการชุดอุปกรณ์เยี่ยมบ้าน-เยี่ยมหลังคลอดสำหรับ อสม. ประกอบด้วย
- ตาชั่ง ผ้าชั่งน้ำหนัก สายวัด อุปกรณ์ดึงหัวนม - ซีดีอัลกุรอ่านเพื่อพัฒนาการเด็ก - แบบรายงานผลการดำเนินงานของ อสม. กิจกรรมที่ ๖ กิจกรรมจ่ายยาวิตามินเสริมธาตุเหล็ก/ไอโอดีน(Triferdine GPO) (Iodine ๑๕๐ GPO) กิจกรรมที่ ๗ จัดกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ - มอบของขวัญมารดาและทารกที่ปฏิบัติตามเกณฑ์
กิจกรรมที่ ๘ นิเทศติดตามการปฏิบัติงาน อสม. สายใยรักแห่งครอบครัว ๒ ครั้ง/ปี กิจกรรมที่ ๙ รวบรวมรายงานและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพตลอดระยะการตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด
  2. ไม่มีภาวะซีดในหญิงมีครรภ์และไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด
  3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเฝ้าระวัง ปัจจัยเสี่ยง และแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างทันท่วงที
  4. ไม่มีอัตราการตายของมารดาและทารก
  5. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2562 16:03 น.