กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ฟันสวยยิ้มใส ดูแลสุขภาพช่องปาก ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2508-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 15 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิอาซิ นิจินิการี
พี่เลี้ยงโครงการ นาย มูหมัด อีอาซา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 14 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 14 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 16,760.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 16,760.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาทางสุขภาพช่องปากยังเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขและเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขมาตลอด การที่จะแก้ไขปัญหาสุขภาพในช่องปากนั้นจะให้บรรลุเป้าหมายระยะยาวได้นั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก หรือเริ่มตั้งแต่ระยะฟันน้ำนมเริ่มขึ้น ฟันได้รับการดูแลอย่างดี เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่จะมีฟันใช้งานได้ครบทั้งปาก ไม่มีโรคในช่องปาก ไม่มีความเจ็บปวดในช่องปาก คงสภาวะเช่นนี้ได้ตลอดชีวิต การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปากเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีสุขภาพดี การป้องกันโรคฟันผุในเด็กควรเริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ เพราะฟันน้ำนมของเด็กเริ่มสร้างและมีการสะสมแร่ธาตุเกือบสมบูรณ์ขณะอยู่ในครรภ์ ประกอบกับปัจจุบันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่าการเป็นโรคปริทันต์มีผลต่อการเกิดภาวการณ์คลอดก่อนกำหนด และเด็กน้ำหนักแรกเกิดน้อย แม่ที่มีฟันผุจะมีเชื้อจุลินทรีย์ในปากจำนวนมาก ซึ่งเชื้อนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ทางน้ำลายและจากข้อมูลทางระบาดวิทยาของประเทศไทย พบว่า ช่วงอายุ ๐-๓ ปี เป็นช่วงที่อัตราการเกิดฟันผุใน ฟันน้ำนมของเด็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นช่วงวัยสำคัญที่สุดในการป้องกันฟันผุ เพราะวัยนี้ ถ้าช่องปากไม่สะอาด จะเอื้อต่อการตั้งรกรากของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้เกิดฟันผุอย่างรวดเร็ว การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันฟันผุในเด็กต้องดำเนินการร่วมกันระหว่างทันตบุคลากร และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในคลินิกสุขภาพเด็กดี ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีโอกาสพบเด็กและพ่อแม่เป็นระยะสม่ำเสมอและเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ เพื่อส่งต่อไปรับบริการป้องกัน รวมทั้งการให้คำแนะนำพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอย่างเหมาะสม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปกครองเข้าใจ และตระหนักเรื่องทันตสุขภาพ ตลอดจนการให้ความสำคัญในการดูแลฟันซี่แรกของลูก เพราะการเริ่มต้นดูแลตั้งแต่เริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญอันจะนำสู่การมีสุขภาวะช่องปากที่ดีในวัยผู้ใหญ่ ต่อไป
    ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะโล ยังมีปัญหาด้านทันตสุขภาพในโรงเรียนเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก มีฟันแท้ผุ ร้อยละ ๒๘.๗๗ ศูนย์พัฒนาเด็กหรือเด็กอนุบาลที่ต้องรับการแก้ไขในการเคลือบฟลูออวานิช ร้อยละ ๗๔.๒๐ และหญิงมีครรภ์มีปัญหาช่องปาก ร้อยละ ๖๒.๕๑ จากการที่ได้สำรวจได้พบปัญหาดั่งกล่าว จึงได้จัดทำ โครงการฯ นี้ขึ้นมา เป็นการส่งเสริมทันตสุขภาพและทันตกรรมป้องกันในโรงเรียนประถมศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มหญิงมีครรภ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานส่งเสริม ป้องกัน รักษา สุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน วัยเรียน และหญิงมีครรภ์ และมีการปรับวิธีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับปัญหาของแต่ละพื้นที่  ซึ่งการดำเนินงานจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากครู นักเรียน ผู้ปกครองและทันตบุคลาการ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแปรงฟันที่ถูกวิธี และสม่ำเสมอทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนและควบคู่ไปกับการให้บริการทันตกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะโลได้เห็นความสำคัญและเป็นการส่งเสริมทันตสุขภาพแก่เด็กนักเรียนเพื่อให้มีฟันดีใช้ตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๕.๑ เพื่อให้นักเรียนเป็นแกนนำสามารถดูแลสุขภาพช่องภาพตนเองและเพื่อนนักเรียนได้
  • มีการแกนนำนักเรียนในโรงเรียน ร้อยละ ๑๐๐
  • ผู้ปกครองเด็กนักเรียนมีความรู้เรื่องทันตสาธารณสุข เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐
    ตัวชี้วัดสำเร็จ
0.00
2 ๕.๒. เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังฟันผุในเด็ก
  • เด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา มีการแปรงฟันกลางวัน ร้อยละ ๑๐๐
  • เด็กนักเรียนประถมศึกษาฟันแท้ผุได้รับการแก้ไขร้อยละ ๑๐๐
  • เด็กนักเรียนประถมชั้นป.๑ และป.๖ ได้รับเคลือบฟลูออวานิชร้อยละ ๘๐
  • เด็กก่อนวัยเรียนเคลือบฟลูออวานิช ร้อยละ ๖๐
0.00
3 ๕.๓ เพื่อส่งเสริมความรู้หญิงมีครรภ์รู้จักป้องกันฟันผุในตัวเองและสามารถนำไปปฏิบัติในการป้องกันฟันผุในบุตร

๑. ตัวชี้วัดสำเร็จโครงการ - หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เรื่องทันตสาธารณสุข เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐ ๒. ตัวชี้วัดสำเร็จ - หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจและแก้ไขปัญหาช่องปาก ร้อยละ ๑๐๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 153 16,760.00 3 16,760.00
11 ก.ค. 62 อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ในการดูแลสุขภาพฟัน 57 8,160.00 8,160.00
23 ก.ค. 62 กิจกรรมทันตสุขภาพดี พี่สอนน้อง 40 3,000.00 3,000.00
15 ส.ค. 62 จัดกิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองเรื่องทันตสุขภาพในเด็กนักเรียน 56 5,600.00 5,600.00

ขั้นเตรียมการ ๑. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ ๒. จัดทำแผนปฏิบัติการตามโครงการ ๓. จัดทำโครงการเสนอกองทุนฯ องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตกเพื่อขออนุมัติโครงการ ขั้นดำเนินการ ๑. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
๒. ชี้แจงการดำเนินการโครงการให้ จนท.และ ครูอนามัยโรงเรียน ๓. สนับสนุนแปรงสีและยาสีฟันเพื่อส่งเสริมการแปรงฟันหลังอาหาร
๔. จัดให้ความรู้แกนนำนักเรียนพี่ดูแลน้อง
๕. ออกตรวจฟันในนักเรียนประถมศึกษา ๖. ออกเคลือบฟันในรายที่มีฟันผุ ขั้นประเมินผล ๑. ออกติดตามการแปรงฟันของเด็กนักเรียน ๒. ประเมินและสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กนักเรียนไม่มีฟันผุส่งผลให้สุขภาพด้านอื่น ๆ ดีตามไปด้วยและได้รับการดูแลตรวจสุขภาพช่องปากตามระบบเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
๒. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรมอย่างถูกต้องและเปลี่ยนแปลงทัศนคติและมีพฤติกรรมทางทันตสุขภาพดีขึ้น ตลอดจนมีการแปรงฟันทุกคนส่งผลให้ปัญหาเรื่องสุขภาพฟันและช่องปากหมดไป ๓. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รูปแบบ และกระบวนการการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาในรูแบบเครือข่ายและมีการพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน ๔. ผู้ปกครองนักมีความรู้ในการดูแลช่องปากสามารถดูแลตนเองและบุตร จนมีทันตสุขภาพช่องภาพที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2562 10:06 น.