กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เด็ก 0-6 ปี มีโภชนาการดี พัฒนาการสมวัย ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2508-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 36,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิอาซิ นิจินิการี
พี่เลี้ยงโครงการ นาย มูหมัด อีอาซา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 14 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 14 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 36,850.00
รวมงบประมาณ 36,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขได้สนองนโยบายของรัฐบาลที่ได้มีการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบให้มีคุณภาพตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 ปี 2560-2564 ทางด้านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติส่งเสริมให้ประชาชนสร้าง นำซ่อม โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยมุ่งเน้นให้คนไทยเข้าถึงบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ๐-๖ปี ซึ่งได้สนองตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-พ.ศ. ๒๕๖๔)ได้เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะเด็กซึ่งเด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๖ปีซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้านก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตจากวลีคำตั้งแต่อดีตที่ว่า เด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยเฉพาะระบบประสาทในทารกแรกเกิด – ๒ ปี จะมีการเจริญเติบโตประมาณ ร้อยละ ๗๕ ของทั้งหมด และเมื่ออายุ ๓ ปี จะมีการเจริญเติบโตถึงร้อยละ ๙๐ ถ้าหากเด็กมีภาวะทุพโภชนาการในช่วงนี้ ก็จะทำให้เด็กมีการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการค่อนข้างช้า ตัวเล็ก น้ำหนักน้อย กล้ามเนื้อลีบเล็ก ไม่แข็งแรงผิวหนังแห้งและเด็กจะเป็นกำลังสำคัญที่จะพัฒนาประเทศและด้านอื่น ๆ ของประเทศตามที่ว่าเด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่า ที่จะพัฒนาประเทศชาติให้รุ่งเรืองต่อไปในอนาคต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล ได้เห็นความสำคัญตามนโยบายและต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพเด็กให้สุขภาพกาย ใจ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการพัฒนาการเด็กเหมาะสมตามวัยโดยเน้นความร่วมมือในทุกส่วนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชุมชน และส่งเสริม กลุ่มเด็ก ๐-๖ ปี ให้มีสุขภาพดีพัฒนาการทีดี และไม่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ซึ่งเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก(เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสะโล) ยังมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 3.๒๒ (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ ๑) ค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ ๑๘.๑๑ และน้ำหนักเกินเกณฑ์ ร้อยละ ๒.๔๒ จึงต้องร่วมใจให้ประชาชนมีความรู้ในเรื่องโภชนาการมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นและขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-6 ปี มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
  1. เด็กมีการตรวจพัฒนาการและตรวจภาวะโภชนาการ ร้อยละ ๙๕
  2. ติดตามพัฒนาการเด็กและให้คำแนะนำแก่ครอบครัวส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ ๘๐
0.00
2 ๒. เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้เรื่องโภชนาการและพัฒนาการของเด็ก
  1. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้เรื่องโภชนาการเด็กเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๘๐
0.00
3 3. เพื่อลดปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก ๐-๖ ปี

๔. เด็กมีโภชนาการภาวะปกติ ร้อยละ ๗๐ 5. เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ ๑

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 234 36,850.00 5 36,850.00
3 ก.ค. 62 สนับสนุนอาหารเสริมในเด็กที่มีนำ้หนักต่ำกว่าเกณฑ์ 8 11,200.00 11,200.00
18 ก.ค. 62 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เสริมสร้างเด็กตัวอย่าง 45 5,500.00 5,500.00
22 ก.ค. 62 กิจกรรมตลาดนัดส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการ 106 12,850.00 12,850.00
22 ก.ค. 62 กิจกรรมเสริมสร้างเด็กตัวอย่าง ละเล่่นสานสัมพันธ์ พ่อ แม่ ลูก 45 3,000.00 3,000.00
19 ส.ค. 62 กิจกรรมพับกระดาษ วาดรูป สานรักสัมพันธ์ 30 4,300.00 4,300.00

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ
1. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก 0-6 ปี ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 3. ประสานงานกับ อสม. 2 ชุมชน เพื่อเตรียมชุมชน สถานที่ เด็ก 0-6 ปีและผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมาย ตามวันเวลาที่ออกดำเนินการ ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ
4. ประชุมชี้แจงคณะทำงาน 5. เจ้าหน้าทีร่วมอสม.ติดตามชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงและประเมินพัฒนาการเด็กวัย 0-6 ปี ทุกไตรมาส 6. จัดกิจกรรมFocus group 7. จัดกิจกรรมคุณแม่มือสอง 8. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องโภชนาการและพัฒนาการที่สมวัย 9. สาธิตการทำอาหารให้เหมาะสมกับวัย 10. สนับสนุนยาเสริมธาตุเหล็กและยาถ่ายพยาธิในรายที่มีปัญหา ขั้นที่ 3 สรุปผล
11. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.อัตราน้ำหนักต่ออายุตามเกณฑ์ในเด็ก ๐-๖ ปีของรพ.สต.บ้านสะโล เพิ่มขึ้น ๒. อัตราส่วนสูงต่ออายุตามเกณฑ์ ค่อนข้างสูง และสูงกว่าเกณฑ์รวมกันในเด็ก ๐-๖ ปีของ ๓. รพ.สต.บ้านสะโล ๔. ผู้ปกครองมีความรู้ความสามารถในการเลี้ยงดูและตระหนักถึงความสำคัญในการเฝ้าระวังดูแลโภชนาการ และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐-๖ปี ได้ดีขึ้น ๕. ชุมชนมีความรู้ ความสามารถและมีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเด็กขาดสารอาหาร ๖. เด็ก ๐-๖ปี มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2562 10:18 น.