กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต สำหรับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2560

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต สำหรับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L4150-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านลากอ
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2017 - 25 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,180.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวตอยยีบะห์ลำเดาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่นกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี 2560 เป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1.483 คน คัดกรองได้ 1,359 คน คิดเป็นร้อยละ 96.58 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 3.25 กลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 2.94ผู้ป่วยรายใหม่9 คนและพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูง จำนวน185 คน คิดเป็นร้อยละ 15.95 กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 1.98 ผู้ป่วยรายใหม่ 15คน
ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และอัมพฤกษ์ อัมพาต จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต สำหรับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงปี 2560 ขึ้นโดยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจง ประชาสัมพันธ์ และจัดทำสื่อความรู้ไวนิล
  2. ติดต่อประสานงานกับหนวยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อ ขอความรวมมือในการดําเนินงาน
  3. จัดเตรียมเอกสาร และเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ ร่วมกับคณะทำงาน
  4. จัดอบรมให้ความรู้ในเชิงปฏิบัติการในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วย และผู้ดูแล ในลักษณะการเข้าค่าย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สาธิตอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสมให้ผู้กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยได้
    ปฏิบัติจริง และ ให้ความรู้เรื่องเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเรื่องการดำเนินการของโรค การ
    รักษา การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรคและPre-post test และมีการจัดทีมสุขภาพเพื่อเยี่ยมบ้านศึกษาการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้ป่วยที่บ้าน
  5. สร้างกระแสสุขภาพล้อมเมืองเน้นประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างที่หลากหลาย และนำศาสนาเข้ามามีส่วนในการดูแลสุขภาพ
  6. การคืนข้อมูลสถานะสุขภาพของชุมชนให้ชุมชนรับทราบ ส่งเสริมการดูแลสุขภาพโดยพื้นฐานการดำรงชีวิต ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่สนใจ รวมถึงจัดประชาคมเพื่อการจัดการภาวะเสี่ยงของพฤติกรรมสุขภาพให้สู่ภาวะที่ดีอย่างยังยืน
  7. ติดตามประเมินผล ภาวะสุขภาพและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ลดความรุนแรงของโรค และประชาชนกลุ่มเสี่ยงลดโอกาสเกิดโรคเรื้อรังไม่ติดต่อโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  2. ประชาชนกลุ่มป่วยใช้พื้นฐานชีวิตในการดูแลอาการของโรค ด้วยตนเอง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกกลุ่ม
  3. ชุมชนโดยแกนนำสุขภาพมีส่วนร่วม เห็นความสำคัญ และสามารถเป็นบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพของชุมชน เพื่อการดูแลระยะยาว
  4. ภาวะแทรกซ้อนทางเท้าในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ลดลง หรือไม่เกิดเพิ่มขึ้น
  5. ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติของโรค
  6. เสริมพฤตพลัง และการดูแลสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2017 10:20 น.