กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L4150-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านลากอ
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2017 - 25 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,190.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวตอยยีบะห์็ ลำเดาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 869 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศ ไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็น อันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปาก มดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็ง ปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากทำทุก ๒ ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ ๙๒ % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่ เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษา ให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จ้าเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทาง ตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ในเขตพื้นที่ รพ. สต.บ้านลากอ พบว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม ปี ๒๕๕๖-๒๕๕๙ ร้อยละ ๓๗.๖๘ ไม่พบผู้ที่มีเซลล์ผิดปกติ และกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐-๗๐ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมปี ๒๕๕๙ ร้อยละ ๙๐ พบผู้ที่มีความผิดปกติ 5 คนจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจฯจะเป็นกลุ่มที่ยาก ต่อการติดตามเข้ารับบริการ ส่วนการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่บ้าน อาจ,มีบางคน ตรวจเต้านมด้วยตนเองยังไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้ง กลุ่มเป้าหมายและ อสม. ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ดังนั้น ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านลากอ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี ๒๕๖๐ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้า นมแบบยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้หญิงอายุ30 -70 ปีทุกคน พร้อมจัดทำทะเบียนและค้นหาหญิงอายุ 30 – 60 ปีผู้ที่ไม่เคยตรวจ มะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ปี2556 ถึงปัจจุบัน
  2. จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่อง มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในชุมชน
  3. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่กลุ่มเป้าหมาย
  4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำในเรื่องการตรวจเต้านมพร้อมทั้ง
    สาธิตการตรวจมะเร็งเต้านมที่ถูกวิธี
    5.. แจ้งรายชื่อกลุ่มเป้าหมายผู้หญิงอายุ30 -60 ปี ให้ อสม.เพื่อแจ้งและติดตามให้มารับบริการตรวจ มะเร็งปากมดลูก
  5. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในกลุ่มเป้าหมายโดย เจ้าหน้าที่ 7.เสริมสร้างแรงจูงใจดังนี้
    • มอบของที่ระลึกกลุ่มเป้าหมายผู้หญิงอายุ30 -60 ปี ทุกคนที่มารับบริการตรวจมะเร็ง ปากมดลูก
  6. อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำ ออกดำเนินการสอนและตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่ ประชาชนในเขตรับผิดชอบ
  7. ส่งต่อรายที่พบความผิดปกติและติดตามการเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ 10.. ประเมินผลและแจ้งผลการดำเนินงานในที่ประชุม อสม.ทุกเดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก
    1. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม
    2. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและ
      ชุมชน
    3. สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่าง
      เหมาะสม
    4. สตรีที่ตรวจพบเป็นมะเร็งปากมดลูกและความผิดปกติของเต้านมได้รับการรักษาและติดตาม เยี่ยมทุกราย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2017 10:32 น.