กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ วัยใส เข้าใจเพศศึกษา ห่วงไกลยาเสพติด
รหัสโครงการ 62-L2508-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชน
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายริฎวัน วอฮะ
พี่เลี้ยงโครงการ นาย มูหมัด อีอาซา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 1 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 28,500.00
รวมงบประมาณ 28,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ยุคปัจจุบันโลกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างในยุคอดีต การติดต่อสื่อสารกันในประเทศต้องใช้เวลานับวันหรือหลายๆ วัน ถ้าจะติดต่อกันข้ามโลกต้องใช้เวลาเป็นแรมเดือน แต่ปัจจุบันสามารถติดต่อข้ามโลกถึงกันได้ในเวลาไม่กี่วินาที เมื่อความเจริญเทคโนโลยีก้าวเข้ามาอย่างรวดเร็วสิ่งต่างๆ ก็ประดังเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมจากต่างชาติ รวมทั้งการมอมเมาเยาวชนด้วยวัตถุต่างๆ ที่เยาวชนไทยรับเอาสิ่งเหล่านี้เข้าไปมากๆ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เอาอย่างวัฒนธรรมต่างชาติโดยลืมวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะการหวงเนื้อหวงตัวในเยาวชนหญิงจนหมดสิ้น ปัญหาต่างๆ จึงรุมเร้าเกิดขึ้นกับเยาวชนไทย       ปัจจุบันประชากรวัยรุ่นไทย มีจำนวน 17 ล้านคน หรือร้อยละ 27 ถือว่าเป็น จำนวนที่มากพอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั้งประเทศ วัยรุ่นเป็นทรัพยากร มนุษย์ที่มีค่าและมีความสำคัญสูง เนื่องจากจะเจริญเติบโตเป็นกำลังแรงงานและสมอง ของชาติในการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน ให้เจริญรุดหน้า เป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ของชีวิต เพราะเป็นวัยเชื่อมต่อระหว่างความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่หรือเป็นวัยที่ ย่างเข้าสู่วัยหนุ่มสาว มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ซึ่งส่งผลไปสู่การ ปฏิบัติตัว การแสดงออกหรือพฤติกรรม วัยรุ่นมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเอง สนใจ สิ่งแปลกใหม่ มีความอยากรู้ อยากเห็น ชอบท้าทาย กล้าแสดงออก ต้องการความเป็น อิสระจากพ่อ แม่ ให้ความสำคัญกับเพื่อนมาก ต้องการให้สังคมยอมรับ ชอบอยู่รวมกัน เป็นกลุ่ม และชอบทำตามเพื่อน จึงมีโอกาสถูกชักชวนให้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมได้ เช่น สูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น       เพื่อเป็นการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นกับวัยรุ่นไทยในอนาคต สภาเด็กและเยาวชน องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก จึงจัดทำโครงการ ป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง รู้ทันภัยสุขภาพ ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรัก และเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันภาวะเสี่ยงในวัยรุ่นที่จะเกิดขึ้น ให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เยาวชนมีความรู้ในการดูแลตนเองให้ห่างจากความเสี่ยงต่อสุขภาพ

๑. เยาวชนมีความรู้หลังจากได้รับการอบรม

0.00
2 ๒. เยาวชนมีทักษะในการปฏิเสธต่อความเสี่ยงสุขภาพที่จะเกิดขึ้น

๒. เยาวชนรู้จักปฏิเสธต่อความเสี่ยงสุขภาพที่จะเกิดขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 300 28,500.00 3 28,500.00
10 เม.ย. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เยาวชนในการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 100 10,000.00 10,000.00
10 เม.ย. 62 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลตนเอง 100 8,750.00 8,750.00
11 เม.ย. 62 ถอดบทเรียนจากกิจกรรมและประสบการณ์ที่ได้พบเจอในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับภัยยาเสพติดและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 100 9,750.00 9,750.00

กลวิธีดำเนินการ กิจกรรมที่ 1. ประชุมทีมงาน กิจกรรมที่ 2. อบรมให้ความรู้เยาวชนในการป้องกันตนเองจากยาเสพติด กิจกรรมที่ 3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการดูแลตนเองให้ห่างจากโรคเอดส์และโรคติดติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กิจกรรมที่ 4. ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ที่ได้พบเจอในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับภัยสุขภาพ กิจกรรมที่ 5. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เยาวชนมีความรู้ในการดูแลตนเองให้ห่างจากความเสี่ยงต่อสุขภาพ ๒. เยาวชนมีทักษะในการปฏิเสธต่อความเสี่ยงสุขภาพที่จะเกิดขึ้น ๓. เยาวชนรู้ทันภัยสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2562 12:41 น.