กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ยิ้มสดใส เฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ตำบลบุดี
รหัสโครงการ 60-L4135-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บุดี
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 106,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมคิด สุวรรณสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นงานที่มีความสำคัญในการที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพพื้นฐานให้แก่ประชาชน ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางทรัพยากรบุคคลและภาระค่าใช้จ่ายต่างๆในการดูแลรักษาผู้ป่วย ควบคุมการกระจายของโรคโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอาจเกิดการระบาดได้ถ้าไม่สามารถให้วัคซีนได้ครอบคลุมเพียงพอ หรือให้ไม่ครบตามจำนวนครั้งที่กำหนดภูมิคุ้มกันที่สร้างจากวัคซีนมีระดับลดลง เมื่อเวลาผ่านไปต้องได้รับการกระตุ้นซ้ำและประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงได้จากปัจจัยต่างๆเช่น การเก็บรักษาวัคซีนไม่ได้มาตรฐานเทคนิคการให้บริการหรือการฉีดวัคซีนเช่นฉีดลึก หรือตื้นเกินไป เป็นต้น
ใน ปี 2559 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดีดำเนินการจัดเก็บข้อมูลการได้รับวัคซีนของเด็ก 0-5 ปีเด็กวัยก่อนเรียน พบว่า มีความครอบคลุมต่ำกว่า ร้อยละ95 ปัญหาที่ผ่านมาพบว่า ผู้ปกครองเด็กไม่ยินยอมให้ลูกฉีดวัคซีน กลุ่มเป้าหมายมีการย้ายที่อยู่อาศัย หรือไปรับบริการจากสถานบริการอื่น ขาดการติดตามต่อเนื่อง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา เป็นบุคคลที่อาศัยในพื้นที่ มีความใกล้ชิด และทราบข้อมูลการเข้าถึงรับบริการ รวมถึงการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยของกลุ่มเป้าหมายอสม.ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนาจึงมีส่วนสำคัญในการกระจายความรู้ข้อมูลข่าวสารในชุมชนได้เป็นอย่างดี มาตรการเชิงรุกที่สำคัญ คือ การให้ อสม.ค้นหากลุ่มเป้าหมาย เด็กวัยก่อนเรียน0-5 ปี พร้อมทั้งให้ข้อมูลและคำแนะนำในการรับวัคซีนป้องกันการเกิดโรค อีกทั้งเก็บข้อมูลความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีนจากสถานบริการอื่น เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจสอบความครอบคลุมวัคซีนป้องกันโรค ภารกิจดังกล่าวเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและตอบโต้การระบาดของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาศักยภาพ อสม.ให้มีความรู้ ทักษะการดำเนินงานช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดีเล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดี ยิ้มสดใส เฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนตำบลบุดีปี 2560 ขึ้นเพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา มีความรู้เรื่องโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก สามารถดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเฝ้าระวังป้องกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีความรู้เรื่องวัคซีนการดูแลสุขภาพช่องปาก และทักษะในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

 

2 เพื่อพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อในระดับหมู่บ้าน

 

3 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  • ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง
  • ประชุมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้ปกครองเด็กหลักสูตร 1 วัน/5รุ่น
  • เจ้าหน้าที่ รพ.สต. นิเทศติดตามการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  • ประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • อสม/ผู้นำศาสนาผู้ปกครองเด็ก มีความรู้เรื่องโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  • อสม/ผู้นำศาสนาผู้ปกครองเด็ก สามารถดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • อสม/ผู้นำศาสนาผู้ปกครองเด็ก มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2560 10:34 น.