กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลด ละ เลิก ใช้ภาชนะโฟมและถุงพลาสติกบรรจุอาหาร ประจำปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L2479-2-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบูกิต
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 12,360.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวนิดา ดรอแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 42 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนร้านค้าแผงลอยและร้านอาหารมีการใช้โฟมบรรจุอาหาร (ร้าน)
115.00
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
115.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกสบายรวดเร็ว และการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้จังหวัดนราธิวาสจะมีการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานสุขาภิบาล และมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตามแต่ยังมีพิษจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแผงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องการสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า การนำกล่องโฟม (Potystyrene) ไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูง หรือที่มีไขมัน หรือน้ำมัน จะมีสารพาออกมาปนเปื้อนในอาหารซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (Corcinogen) ได้แก่ สารสไตรีน (Styrene) ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซิน (BenZene) ออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูก ทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท (Pthalate) เป็นสารทำลายระบบสืบพันธุ์ ก่อให้เกิดผลกระทบสุขภาพของผู้บริโภค และการจากสำรวจปริมาณขยะตั้งแต่มีการควบคุมมลพิษ พบว่า ขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ใบ/คน/วัน โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น หรือแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี ซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องการต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และก่อเกิดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง จากข้อมูล ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่ตำบลบูกิต รวมทั้งหมด 115 ร้าน ซึ่งยังใช้โฟมเป็นภาชนะบรรจุอาหาร ดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบูกิต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอันตรายจากการใช้โฟม และหน่วยงานสาธารณสุขยังเป็นพื้นที่นำร่องที่จะ ลด ละ เลิกการใช้โฟมเป็นภาชนะบรรจุอาหาร จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ลดการใช้โฟม และแนะนำให้ผู้บริโภคเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารให้ถูกประเภทหลีกเลี่ยงการนำโฟมมาบรรจุอาหารร้อน ไขมันสูง หรือมีความเป็นกรด และหลีกเลี่ยงการอุ่นอาหารในเตาไมโครเวฟ รวมถึงการหันมาใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง กระดาษ กล่องไบโอ ชานอ้อย พลาสติกไบโอ แทนกล่องโฟม ดีกว่าการปล่อยให้ร่างกายถูกทำลายเพราะอันตรายจากสารเคมีทุกวัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี ห่างไกลจากสารพิษที่ปนเปื้อน

ประชาชน และนักเรียนมีพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารที่หลีกเลี่ยงการบรรจุด้วยภาชนะโฟม

115.00 42.00
2 เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบ ลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร

ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร

115.00 42.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

115.00 42.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,360.00 0 0.00
??/??/???? ลงพื้นที่สำรวจร้านให้ควารู้การลดใช้โฟม 0 0.00 -
??/??/???? จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายประชาชนและร้านค้า 0 12,360.00 -
??/??/???? ติดตามการใช้โฟมในการใส่อาหารของร้านค้าผู้ร่วมโครงการ 0 0.00 -

วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม)

  1. สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมเอกสารสถานการณ์การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ชุมชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

  2. เสนอโครงการเพื่อของบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต

  3. ประชาสัมพันธ์ให้ควารู้การลดใช้โฟม โดยกลุ่มคณะทำงานของกลุ่มร่วมกับอสม.ประจำหมู่บ้าน

  4. รับสมัครเข้าร่วมโครงการ

  5. ติดต่อประสานงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้นำชุมชน

  6. ประชุมชี้แจงโครงการแก่คณะกรรมการหมู่บ้าน และ อสม.

  7. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร และสถานที่

  8. ดำเนินงานตามกิจกรรม โครงการที่กำหนดไว้ จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 8.1 กลุ่มอสม. ที่รับผิดชอบในแต่ละหมู่บ้านหมู่บ้าน ละ 1 คน 14 หมู่บ้าน= 14 คน 8.2 ร้านอาหาร , แผงลอยจำหน่ายอาหาร หมู่บ้าน ละ 1 คน 14 หมู่บ้าน= 14 คน 8.3 ประชาชนผู้บรโภค หมู่บ้าน ละ 1 คน 14 หมู่บ้าน= 14 คน รวม42คน

  9. ติดตามการใช้โฟมในการใส่อาหารของร้านค้าผู้ร่วมโครงการ โดยกลุ่มประชาชนและคณะทำงาน ทุก 2เดือน

  10. สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชน ร้านอาหาร , แผงลอยจำหน่ายอาหาร สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพมากขึ้น

    1. ประชาชน ร้านอาหาร , แผงลอยจำหน่ายอาหารมีความตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะบรรจุโฟม และเลือกใช้ภาชนะทดแทนที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

    2. ปริมาณขยะในบ้านเรือนและชุมชนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2561 00:00 น.