กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาวะเกษตรกร ลดใช้สารเคมีทางการเกษตร
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเกษตรกร
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 กรกฎาคม 2562 - 29 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 4 ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.823,101.376place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 11 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 36,100.00
รวมงบประมาณ 36,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน
90.00
2 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การบริหารส่วนตำบลปิยามุมัง มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งตำบลปิยามุมัง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย มีพื้นที่ 11.17 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,487.50 ไร่ แบ่งเป็น ๕หมู่บ้าน จำนวนประชากร ๓,๖๙๗ คน (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒) ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปิยามุมัง ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนาข้าว สวนมะพร้าว สลับกับการปลูกพืชผักระยะสั้น เช่น พริก แตงโม พืชผักสวนครัว เป็นต้น นอกจากนั้นยังประกอบอาชีพรับจ้าง เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับราชการ และมีบางส่วนไปทำการเกษตรในต่างจังหวัด บางส่วนไปค้าขาย และรับจ้างในต่างประเทศ ฯลฯ จากสถานการณ์ ของชุมชน พบว่า คนในชุมชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไปจากในอดีตอย่างมาก เนื่องจากเป็นชุมชนที่อยู่ติดกับเขตเมืองและคนในชุมชนยุคปัจจุบันมีการประกอบอาชีพรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งต่างจากในอดีตที่มีอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก จึงทำให้ไม่ค่อยมีเวลาประกอบอาหารกินเอง จึงซื้ออาหารถุงมาบริโภคและซื้อผักและผลไม้ต่างๆ มาบริโภคโดยไม่ได้ปลูกไว้กินเองเหมือนเมื่อก่อน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่สูงขึ้น จึงทำให้พฤติกรรมการบริโภคของคนในชุมชนแปรเปลี่ยนไป ทำให้สภาพร่างกายได้รับสารเคมีมากเกินกำหนดซึ่งก่อให้เกิดภาวะโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดัน มะเร็งต่างๆ ซึ่งกว่าจะรู้ตัวก็มักจะเป็นระยะที่ยากต่อการรักษาเยียวยา นอกจากนั้นยังพบว่าสภาพทางสังคม ก็เปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นสังคมที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความรักความสามัคคีในชุมชน แต่ในปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนไปเป็นสังคมเมือง ขาดความมีน้ำใจ เกิดความแตกแยกในชุมชนแบ่งพรรคแบ่งฝ่าย เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ ซึ่งส่งผลต่อสภาพจิตใจ เนื่องจากสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง เป็นโรคง่าย และเกิดภาวะเครียดเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ชาวบ้านได้ทราบถึงปัญหาในด้านต่างๆ ของชุมชน และทำให้ทุกคนตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนร่วมกันในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยเลือกประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่มาจากพฤติกรรมการบริโภค และสุขภาพของคนในชุมชน โดยเลือกทำ “สุขภาวะเกษตรกร ลดใช้สารเคมีทางการเกษตร” เพื่อให้คนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภค ลด-ละสารเคมีให้น้อยลงและหมดไปในที่สุด โดยให้คนในชุมชนหันกลับมาทำเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การปลูกผักกินเอง การทำนาข้าวอินทรีย์ และการเลี้ยงสัตว์ (ปลาน้ำจืดและสัตว์ปีก) ซึ่งทุนที่มีอยู่ในชุมชนอยู่แล้วคือ โครงการฟาร์มตัวอย่าง ฯ  กลุ่มองค์กรภาคประชาชนเพื่อสันติและเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มจิตอาสา อสม กลุ่มสภาเด็กและเยาวชน แนวทางในการจัดการปัญหานั้น ชุมชนมีแกนนำและอาสาสมัครแนะนำ ชักชวนให้คนในชุมชนได้รับทราบถึงโทษของการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีตกค้าง และประโยชน์ของอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายทั้งในและนอกชุมชน และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองอย่างจริงจัง และตั้งใจเพื่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยหันกลับมาใช้วิถีชีวิตแบบเกษตรอินทรีย์ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆลดการใช้สารเคมีและแทนที่ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ จนในที่สุดการใช้สารเคมีก็จะหมดไปในอนาคตซึ่งจะทำให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านเกษตรอินทรีย์ปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคในชุมชน 2.การแก้ไขปัญหาสารเคมีเกษตรที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ๓ เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

การติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพ โดยคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะองค์การบริหารส่วนตำบลปิยามุมัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง ติดตามผลการทำการเกษตรปลอดสารและมีการสำรวจการประเมินโดยการสัมภาษณ์ และสอบถาม ซึ่งผลจากการทำโครงการนี้ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นตัวอย่างในการดำเนินกิจกรรมให้แก่หมู่บ้านอื่นๆต่อไป

80.00
2 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้น

90.00 0.00
3 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย ลดลงเหลือ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมเกิดแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์เพื่ออาหารสุขภาวะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 36,100.00
29 ก.ค. 62 กิจกรรม การประเมินภาวะสุขภาพ กิจกรรมปุ๋ยอินทรีย์ ผักมีคุณภาพ ร่างกายปลอดภัย รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ จัดทำทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ 0 0.00 36,100.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 0.00 0 0.00
29 ก.ค. 62 กิจกรรมปุ๋ยอินทรีย์ ผักมีคุณภาพ ร่างกายปลอดภัย 0 0.00 -
29 ก.ค. 62 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ จัดหาวัตถุดิบสนับสนุนให้แต่ละครัวเรือนดำเนินการทำการเกษตรอินทรีย์ 150 0.00 -
  1. ประชาสัมพันธ์ในชุมชน และรับสมัครกลุ่มผู้เป็นต้นแบบเกษตรอินทรีย์แต่ละครัวเรือน
  2. ประชุมเตรียมการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ จัดหาวัตถุดิบสนับสนุนให้แต่ละครัวเรือนดำเนินการทำการเกษตรอินทรีย์
  3. และติดตามประเมินผล 4.  มอบรางวัลให้แก่ครัวเรือนต้นแบบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทำให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค 2.ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น เนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและขจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย 3.ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 4.ลดปริมาณสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ที่ปนเปื้อนในอากาศและน้ำ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษของสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง ผักปลอดสารพิษ ให้ประโยชน์ตั้งแต่ผู้ปลูกเองไปจนถึงผู้บริโภค ช่วยให้สุขภาพดี ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2562 21:20 น.