กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องโดยการใช้รอกชักมือ-เท้า
รหัสโครงการ 48/60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเกศวรางค์ สารบัญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องในชุมชนถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อย่างยั่งยืนโดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วมเนื่องจากความพิการที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวร่างกายต้องพึ่งพาบุคลอื่นในระยะยาวจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ผู้ป่วยถูกจำกัดให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติการที่ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ลดลงรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลคลองขุด ได้เล็งเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องโดยการใช้รอกชักมือ-เท้า ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มีความต้องการจำเป็นพิเศษด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป โดยมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือบางอย่าง เพื่อช่วยในการฝึกหัดร่างกาย และต้องได้รับการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่องและใช้ระยะเวลานาน ทำให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีภาระเรื่องเวลาและหน้าที่การงาน เป็นเหตุให้ดูแลผู้ป่วยได้ไม่ดีตามความจำเป็นของการรักษา เช่น การบริหารกล้ามเนื้อแขนและขาของผู้ป่วยในเรื่องการรักษาอาการนี้สามารถทำได้ โดยการใช้วิธีกายภาพบำบัด ซึ่งในโรงพยาบาลก็มีการรักษาในลักษณะนี้ แต่อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษามีราคาสูง ด้วยเหตุนี้จึงนำรอกชักมือรอก-เท้าซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ประยุกต์ให้ออกมาในอีกรูปแบบหนึ่ง ประหยัดพื้นที่และการทำงานไม่ซับซ้อน ผู้ป่วยสามารถทำกายภาพบำบัดได้ด้วยตนเอง เหมาะกับผู้ป่วยที่ญาติไม่สามารถทำหัตถบำบัดให้ผู้ป่วยได้ทุกครั้ง และสภาพบ้านที่ไม่มีขื่อก็สามารถใช้รอกชักมือ-เท้าได้ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ให้ข้อจำกัดดังกล่าวลดลง หรือหมดไปเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสภาพที่เหมาะสมลดภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมศักยภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่สำคัญในการดำรงชีวิตของผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มเป้าหมายได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ

2 เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องสามารถใช้อุปกรณ์ทำกายบริหารด้วยตนเองได้ง่ายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและลดภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล

กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้กายอุปกรณ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพตนเองได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
  2. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขลงไปประเมินสภาพของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และมอบรอกชักมือ-เท้าที่จำเป็นสำหรับผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยการพิจารณาโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นเฉพาะราย
  3. สอนและแนะนำผู้ดูแลในครอบครัวเรื่องการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวร่างกาย วิธีการออกกำลังกาย 1 ใช้ผ้าขนหนูมามัดที่มือ ที่อ่อนแรงใช้มือข้างที่ปกติ ออกแรงดึงที่มือจับเพื่อยกแขนที่อ่อนแรงให้ขยับสูงขึ้น-ลง เพื่อเป็นการออกกำลังกายช่วงหัวไหล่ แขน
  4. ใช้ผ้าขนหนูรองที่ปลายเท้าข้างที่อ่อนแรง ใช้มือข้างที่ปกติ ออกแรงดึงที่มือจับเพื่อยกเท้าที่อ่อนแรงให้ขยับสูงขึ้น-ลง เพื่อเป็นการออกกำลังกายช่วงสะโพก ขา

ประโยชน์ในการออกกำลังกายด้วยรอกชักมือ-เท้า 1. ช่วยให้ข้อต่อต่างๆ เช่นหัวไหล่ แขน หลัง ข้อต่อสะโพกได้ เคลื่อนไหว 2. ช่วยให้กล้ามเนื้อและหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นแข็งแรงดีขึ้น
3. กรณีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอัมพฤกษ์ อัมพาต นอนกับที่นานๆ ช่วยแก้ไขปัญหาข้อติดได้ 4. ผู้ป่วยสามารถใช้อุปกรณ์ในการทำกายบริหารเพื่อบำบัดอัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีกด้วยตนเองได้ 5. สรุปโครงการ
ผลการใช้รอกชักมือ-เท้า 1.ปัญหาผู้ป่วยอัมพฤกษ์ไม่สามารถไปรับการรักษาตามนัดได้
2. ผู้ป่วยขาดอุปกรณ์ในการทำกายภาพบำบัด 3. ญาติไม่สามารถทำกายภาพบำบัดได้ทุกเวลา 4. ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงเพิ่มขึ้น 5. ผู้ป่วยมีอาการติดขัดของข้อต่อเพิ่มขึ้น 1. ผู้ป่วยสามารถทำกายภาพบำบัดเองที่บ้านได้ 2. ผู้ป่วยมีอุปกรณ์ทำกายภาพบำบัดเองได้
3. ผู้ป่วยสามารถทำกายภาพบำบัดได้ด้วยตนเอง 4. ผู้ป่วยที่ได้ทำกายภาพด้วยตนเองแล้วมีกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น 5. ผู้ป่วยไม่มีอาการติดขัดของข้อต่อ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องสามารถใช้อุปกรณ์ทำกายบริหารด้วยตนเองได้ เพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและลดภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล
  2. ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องได้รับการฟื้นฟูสภาพที่เหมาะสมลดภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2560 10:47 น.