กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้ประกอบการร้านอาหารร่วมใจ สู่อาหารปลอดภ้ยแก่ผู้บริโภค ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3018-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลรูสะมิแล
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 31 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 28 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 62,810.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลรูสะมิแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.864,101.207place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามนโยบายกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในเรื่องอาหารปลอดภัยมาโดยตลอด เพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในด้านคุณภาพและความสะอาดและนอกจากนี้อาหารยังเป็นหนึ่งปัจจัยที่จำเป้นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ อาจมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือคุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาด และปราศจากสารปนเปื้อน เพราะประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ประกอบการกิจการที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ผู้สัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียมปรุง ประกอบอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงสู่อาหาร ฉะนั้น การประกอบอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแล ควบคุม ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร     ตำบลรูสะมิแล เป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี มีร้านอาหารจำนวนมาก เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชน แหล่งท่องเที่ยว มีทั้งมหาวิทยาลัย โรงเรียน สถานที่ราชการ หอพัก และบ้านเรือนประชาชน จากการสำรวจข้อมูลร้านอาหาร ตำบลรูสะมิแล ณ ปัจจุบัน มีจำนวนร้านอาหารทั้งหมด 78 ร้าน(้อมูล ต.ค.61-ม.ค.62) และภาชนะโฟมที่บรรจุอาหารยังทำให้ปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนานถึงประมาณ 450 ปี และสารสไตรีนที่อยู่ในภาชนะโฟมเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประกอบกับพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560) สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ต้องขออนุญาตหนังสือรับรองการแจ้งหรือใบอนุญาตและต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงทำให้ต้องมีการควบคุมดูแลสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางระบบทางเดินอาหาร โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50(4)ป้องกันและระงับโรคติดต่อ     ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลรูสะมิแล ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการผู้ประกอบการร้านอาหารร่วมใจ สู่อาหารปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ประจำปี 2562 สำหรับผู้ประกอบการกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร เพื่อเป็นการดูแลสภาพสุขาภิบาลของร้านอาหารควบคุมคุณภาพอาหารที่จำหน่ายให้สะอาด และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร อักทั้งยังเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร

 

0.00
2 2.เพื่อเป็นการเฝ้าระวงและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่

 

0.00
3 3.เพื่อให้สถานที่จำหน่ายอาหารได้รับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในการเลือกบริโภค

 

0.00
4 4.เพื่อยกมาตรฐานสถานที่จำหน่ายอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาลและถูกต้องตามกฎหมาย

 

0.00
5 5.เพื่อรณรงค์การลดใช้ภาชนะโฟม เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค และลดปริมาณขยะจากภาชนะโฟม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

วิธีการดำเนินการ   ขั้นตอนการเตรียมการ     1.ประชุมกลุ่มเพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการ     2.จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ     3.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องและจัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์     4. ประชุม วางแผน การออกตรวจพื้นที่     5.ประชาสัมพันธ์โครงการ/เปิดรับสมัครร้านอาหารที่่สนใจเข้าร่วมโครงการ   ขั้นตอนการดำเนินการ     กิจกรรมที่ 1
          อบรม แกนนำ ในการตรวจร้านอาหารด้ายกายภาพ และตรวจด้านชีวภาพ โดยการใช้ชุดทดสอบ (Si2) และมอบเกี่ยรติบัตรรับรอง     กิจกรรมที่ 2         1.จัดอบรม/กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้องสำหรับผู้ประกอบการสถานที่จำหน่ายอาหาร         2.จัดตั้งชมรมผู้ประกาอบการร้านอาหารเพื่อเป็นแกนหลักในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย     กิจกรรมที่ 3         1.แกนนำร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตรวจสารปนเปื้อนทางด้านกายภาพและด้านชีวภาพ ให้คำแนะนำร้านอาหารให้ผ่านเกณฑ์ร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่วอย (CFGT)         2.แกนนำร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกตรวจติดตามร้านอาหาร ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ เพื่อประเมินให้การรัอบรองป้ายอาหารปลอดภัย (CFGT)         3.มอบป้ายรับรองมาตรฐาานร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (CFGT)         4.ประชาสัมพันธ์ร้านที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยในชุมชน   ขั้นตองการประเมินและสรุปผล           สรุปผลและประเมินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร 2.สามารถเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่ได้ 3.สถานที่จำหน่ายอาหารได้รับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในการเลือกบริโภค 4.สามารถยกมาตรฐานสถานที่จำหน่ายอาหารให้ถูกหลักสุขาภิบาลและถูกต้องตามกฎหมาย 5.สามารถลดใช้ภาชนะโฟม เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค และสามารถลดปริมาณขยะจากภาชนะโฟมได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2562 10:10 น.