กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างนวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-PKL-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลปากล่อ
วันที่อนุมัติ 25 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 15 มกราคม 2563
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยามีล๊ะ อาลี
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุกิตติ์ อนันทมาศ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.62,101.187place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ก.ค. 2562 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 138 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากยุงเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่นโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น ซึ่งโรคไข้เลือดออกนั้นนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมาก       สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยงคงคุกคามชีวิตประชาชนชชาวไทยคือการที่ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ทำให้ไม่มีการตื่นตัวร่วมกันป้องกับและควบคุมโรคไข้เลือดออก สำหรับองค์การอนามัยโลก แนะนำให้ใช้ทรายกำจัดลูกน้ำใสในแหล่งน้ำ เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงเป็นการป้องกันไม่ให้ยุงที่เป็นพาหะนำโรคหลายชนิดแพร่พันธ์ได้ แต่จะต้องใช้ในอัตราส่วนที่ถูกต้อง จึงจะกำจัดลูกน้ำยุงได้ คือเมื่อใส่ในแหล่งน้ำแล้วจะต้องมีความเข้มข้นที่1 ส่วนในล้านส่วน(PPM) โดยจะออกฤิทธิ์ทำลายระบบประสาทและการหายใจของลูกน้ำยุงภายใน1ชั่วโมง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 3เดือน แต่พบว่าทรายอะเบทนั้นมีจำนวนจำกัด ไม่สามารถดำเนินป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ตลอดทั้งปี       ปัจจุบันมีผู้ขายตัวยาเพื่อกำจัดยุงขึ้นมาหลายชนิด เช่นครีมทากันยุง ยาจุดกันยุง ยาฉีดกันยุง น้ำมันไล่ยุง เป็นต้น แต่ยากันยุงเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย เพราะมีสารที่เป็นอันตรายผสมอยู่ซึ่งทำให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการแพ้ คณะผู้จัดทำพบว่ามีชาวบ้านในท้องถิ่นได้นำพืชสมุนไพรต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ในการไล่ยุง เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน มาวางไว้ใกล้ตัว และในบริเวณบ้านพบว่าสามารถไล่ยุงได้ จึงได้คิดที่จะศึกษาพืชสมุนไพรที่มีฤิทธิ์ในการกำจัดยุง หรือไล่ยุงขึ้นมา โดยใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนเอง ภูมิปํัญญาชาวบ้าน สู่นวัตกรรมที่นำมาใช้ในโรงเรียนและในชุมชนได้จริง โดยนำพืชสมุนไพรเหล่านี้มาทำเป็นครีมหอมกันยุง โลชั่นสมุนไพรไช่ยุงและแก้ผื่นคันขึ้นมา เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกขึ้นและหยุดปัญหาการแก้แพ้สารเคมี มาเป็นทางเลือกในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสมุนไพรในการไล่ยุง 2.เพื่อให้ได้นวัตกรรมสมุนไพรไล่ยุงที่มีประสิทธิภาพในการไล่ยุง ป้องกันยุงและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3. เพื่อส่งเสริมการนำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 4.เพื่อลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย 5.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 6.เพื่อลดภาะค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายหรือทรายอะเบทประหยัดและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้ใช้

ผู้ปกครอง นักเรียน ชาวบ้านในชุมชนเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 198 20,000.00 2 20,000.00
22 ม.ค. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้้ในการจัดทำนวัตกรรมให้กับนักเรียน 148 14,400.00 14,400.00
29 ก.ค. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองนักเรียน ประชาชนในชุมชน 50 5,600.00 5,600.00

ประชุมวางแผนดำเนินงานร่วมกันระหว่างคณะครูนักเรียน สำรวจพื้ชสมุนไพรในท้องถิ่น เขียนโครงการขออนุมัติ ดำเนินงานตามโครงการ ประเมินผล สรุป รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้นวัตกรรมสมุนไพรไล่ยุงที่มีประสิทธิภาพในการไล่ยุง ป้องกันยุงและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.ทำให้เกิดการส่งเสริมการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 3.ทำให้ปริมาณการเกิดลูกน้ำยุงลายได้ 4.ทำให้อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลง 5.เป็นการลดภาระ ค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีกำจัดลุกน้ำยุงลายได้ อีกทั้งเป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้ใช้ 6.เป็นการเผยแพร่ความรู้ในการไล่ยุง โดยใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นให้แก่ผู้ที่สนใจ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2562 15:13 น.