กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ต.ศาลาใหม่ ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2487-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 35,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นส.แวสุนียะห์ อาแด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,102.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าโรคมะเร็งทุกชนิดเป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆ และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จากสถิติ พบว่าสาเหตุการป่วยด้วยมะเร็งเต้านมมีอัตรา ๒๘.๒๖ พบมากในสตรีอายุ ๓๕ – ๖๐ ปี รองลงมาคือมะเร็งปากมดลูก ซึ่งในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45 – 50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยพบรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี วิธีการป้องกันที่สำคัญที่สุด ของมะเร็งทั้ง ๒ ชนิด คือการค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ จะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรกเพื่อรับการรักษาก่อนจะลุกลาม และการป้องกันที่ดีที่สุด คือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด จากผลการศึกษาของ International Agency for Research on Cancer (IARC/WHO) โดยทำ Screen ในผู้หญิงอายุ 35 – 64 ปี พบว่า การทำ Pap Smear ทุกปีๆละ ๑ ครั้ง หรือทุกๆ 2 ปีครั้ง หรือทุกๆ 3 ปีครั้ง จะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงร้อยละ 91 – 93 และการทำ Pap smear ทุกๆ 5 ปีครั้ง จะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงร้อยละ 84 ดังนั้นการให้ความรู้ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง การฝึกทักษะในการสังเกต รวมไปถึงการสร้างความตระหนักแก่ประชาชนกลุ่มสตรี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลป้องกันตนเอง การตรวจคัดกรองค้นหาความผิดปกติในระยะแรก ทำให้สามารถได้รับการดูแลรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ลดอัตราป่วย และลดอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ จากการดำเนินงานตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑ ในกลุ่มสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก สะสม ๕ ปี จำนวน ๘๙๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๓๔ (ต่ำกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดสะสมมากกว่าร้อยละ ๘๐) โดยในปี ๒๕๖๑ ที่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินโครงการมหกรรมรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ต.ศาลาใหม่ ปี 25๖๑ พบว่า กลุ่มสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก จำนวน ๓๐๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๑๕ (สูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดรายปีมากกว่าร้อยละ ๒๐) และตั้งแต่ปี ๒๕๕๙-๒๕๖๐ จากการรณรงค์คัดกรองฯ พบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกแล้ว จำนวน ๒, ๕, ๙ ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย ๑๙.๙๒ ,๔๙.๖๙, ๘๗.๒๖ ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ซึ่งเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน ๑ ราย และสำหรับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม กลุ่มสตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๑ ได้คัดกรองโรคมะเร็งเต้านม จำนวน ๑,๕๗๔ , ๑,๕๕๗, ๑,๖๒๓, ๑,๖๓๑ คน ตามลำดับ จากการรณรงค์คัดกรองฯ พบผู้ป่วยแล้ว ๕ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๔๘.๔๗ ต่อแสนประชากร จะเห็นได้ว่าความครอบคลุมของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มสูงขึ้น และยังพบอัตราป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นตามจึงจำเป็นจะต้องจัดกิจกรรมให้ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มความรู้ เพิ่มความตระหนัก ให้ความสำคัญให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลทำให้ไม่พบอัตราป่วยระยะสุดท้ายและอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม หรือพบอัตราที่ลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหากลุ่มป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ไม่รุนแรง เพื่อส่งต่อรักษาอย่างต่อเนื่อง
  • สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกสะสม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐
  • สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี  ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมโดย จนท. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๐
90.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักในชุมชน และกระตุ้นให้สตรีกลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

ชุมชนเกิดความตระหนักและประชาชนทั่วไป/กลุ่มสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมมหกรรมรณรงค์คัดกรองฯ ร้อยละ ๑๐๐

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อค้นหากลุ่มป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ไม่รุนแรง เพื่อส่งต่อรักษาอย่างต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อสร้างความตระหนักในชุมชน และกระตุ้นให้สตรีกลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม 300.00 0.00 -
2 ก.ย. 62 กิจกรรมมหกรรมรณรงค์คัดกรองฯ แสดงบูธนิทรรศการให้ความรู้ ฯลฯ 300.00 35,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นที่ ๑ เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ ๑. สำรวจกลุ่มเป้าหมายให้เป็นปัจจุบัน ๒. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ ๓. ประสานงานและประชาสัมพันธ์ภาคีเครือข่าย เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย และติดตามกลุ่มเป้าหมาย ขั้นที่ ๒ ดำเนินการตามโครงการ ๔. รณรงค์ให้สตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่หน่วยบริการทุกแห่ง และรพ.สต.ศาลาใหม่ได้ทุกวันทำการ ๕. ส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจคัดกรองความผิดปกติพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป ๖. จัดกิจกรรมมหกรรมรณรงค์คัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยมีกิจกรรมการแสดงบูธนิทรรศการให้ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกิจกรรมการตอบคำถาม ในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป จำนวน 300 คน ขั้นที่ ๓ สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล ๗. ประเมินผลสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ และรายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ ขั้นที่ ๔ การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ๘. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และเกิดความตระหนักในการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๒. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตรา การเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะที่ไม่รุนแรง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2562 15:20 น.