กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่


“ โครงการกิน กอด เล่า ฟันดี ต.ศาลาใหม่ ปี 2562 ”

ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางพัตมา วาเด็งพงษ์

ชื่อโครงการ โครงการกิน กอด เล่า ฟันดี ต.ศาลาใหม่ ปี 2562

ที่อยู่ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 62-L2487-1-09 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการกิน กอด เล่า ฟันดี ต.ศาลาใหม่ ปี 2562 จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการกิน กอด เล่า ฟันดี ต.ศาลาใหม่ ปี 2562



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการกิน กอด เล่า ฟันดี ต.ศาลาใหม่ ปี 2562 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 62-L2487-1-09 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 43,050.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ภาวะโภชนาการในช่วงวัยแรกเกิดถึงอายุ ๖ ปี จะมีความสำคัญมา เนื่องจากภาวะโภชนาการที่ดีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก โดยเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ป้องกันสุขภาพ และวางพื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนได้อย่างเต็มที่ การขาดโภชนาการที่ดีจะกีดขวางการเจริญเติบโตของเด็ก ทำให้สติปัญญาพัฒนาช้า ลดทอนศักยภาพ และคงความยากจนต่อไป จากสถานการณ์ภาวะโภชนาการในเด็กอายุ ๐-๖ ปี ของภาคใต้ไตรมาศที่ ๔ ปี ๒๕๕๔ พบว่าเด็กอายุ ๐ – ๖ ปี มีภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ ๙.๙๑ และพบว่าเด็กอายุ ๐ – ๖ ปี มีภาวะโภชนาการมากกว่าเกณฑ์ ร้อยละ ๑๐.๒๔ โดยเฉพาะในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี จากสถานการณ์ปัญหาด้านโภชนาการทั้งการขาดและเกินมีเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่สัมพันธ์กันหลากหลาย ที่สำคัญได้แก่ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการแก้ปัญหาด้านโภชนาการและควบคุมป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ มี ๔ ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การควบคุมด้านปริมาณและคุณภาพอาหาร การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการกำหนด และดำเนินนโยบาย และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการจัดการองค์ความรู้ก่อเกิดองค์ความรู้ต่างๆ จากการประเมินการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กอายุ ๐-๖ ปี ไตรมาศที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๖๑ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ ๐-๖ ปี เฉพาะกลุ่มเด็กในหมู่บ้าน (ยกเว้น ศพด.และโรงเรียน) ในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน ๕๖๖ คน พบเด็กที่มีภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม จำนวน ๑๗ คน และภาวะโภชนาการผอม จำนวน ๑๘ คน รวม ๓๕ คนคิดเป็นร้อยละ ๖.๑๘ (เพิ่มขึ้นจากไตรมาศที่ ๔ ปี ๒๕๕๙, ๒๕๖๐ ที่พบจำนวน ๑๗, ๓๓ คน ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ ๒.๓๒, ๔.๑๖) เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ยังพบพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทกรุบกรอบมากขึ้น รับประทานอาหารไม่ครบมื้อหลัก ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ๕ หมู่ ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ รวมไปถึงการขาดความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาศึกษา ขาดการใส่ใจดูแลเท่าที่ควรของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก เป็นผลให้เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ภาวะโภชนาการไม่สมส่วน อีกทั้งยังพบปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็ก ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะโภชนาการโดยตรง พบว่า เด็กอายุ ๓-๕ ปี มีฟันผุ จำนวน ๒๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๑ ประกอบกับ ปี ๒๕๖๑ ยังพบเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ (น้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม) จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๑๔ (ลดลงจากปี ๒๕๕๙ ที่พบจำนวน ๑๘, ๑๘ คน ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๙๐, ๙.๒๘) ซึ่งอาจส่งผลต่อการภาวะโภชนาการและพัฒนาการในอนาคตต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดอัตราภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ.) และภาวะโภชนาการผอมในเด็กอายุ ๐ – ๖ ปี
  2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักแก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการให้เวลาให้ความรักความอบอุ่น ดูแลด้านโภชนาการ ดูแลด้านส่งเสริมพัฒนาการ และการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ ๐ – ๖ ปี

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมเสริมสร้างและเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการเด็กอายุ ๐-๖ ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม(คผ.) และ ผอม
  2. กิจกรรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก
  3. กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังติดตามภาวะพัฒนาการ
  4. กิจกรรมเสริมสร้างและเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการเด็กอายุ ๐-๖ ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม(คผ.) และ ผอม
  5. กิจกรรมมหกรรมการส่งเสริมฯ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 596
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ไม่พบอัตราเด็กอายุ ๐-๖ ปี ภาวะโภชนาการไม่สมส่วน ผอมและน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
๒. ไม่พบปัญหาฟันผุในเด็กอายุ ๓-๕ ปี
๓. ผู้ปกครองสามารถดูแลภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กอายุ ๐–๖ ปี ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมมหกรรมการส่งเสริมฯ

วันที่ 28 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

มหกรรมการส่งเสริมด้านโภชนาการพัฒนาการ การดูแลรักษาช่องปาก และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมมหกรรมการส่งเสริมด้านโภชนาการพัฒนาการ การดูแลรักษาช่องปาก และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก จำนวน ๑๒๗ คน

 

127 0

2. กิจกรรมเสริมสร้างและเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการเด็กอายุ ๐-๖ ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม(คผ.) และ ผอม

วันที่ 15 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

เด็กอายุ ๐-๖ ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอมและผอม (เฉพาะกลุ่มในหมู่บ้าน) จำนวน ๓๕ คน ได้รับวัสดุอาหารเสริม (อาหารเสริม/ยาเสริมธาตุเหล็ก/วิตามินเสริม) คนละ ๑ ชุด พร้อมเฝ้าระวังติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รับ ชุดยาเสริมธาตุเหล็กและนมผง  และได้รับเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการ ทุกๆ ๓ เดือน ร้อยละ ๑๐๐ (ผ่านตัวชี้วัด)

 

35 0

3. กิจกรรมเสริมสร้างและเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการเด็กอายุ ๐-๖ ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม(คผ.) และ ผอม

วันที่ 1 ตุลาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

เฝ้าระวังภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กอายุ ๐-๖ ปี (เฉพาะกลุ่มในหมู่บ้าน) ในเขตตำบลศาลาใหม่ทั้งหมดจำนวน ๕๙๖ คนทุกๆ ๓ เดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เฝ้าระวังภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กอายุ ๐-๖ ปี (เฉพาะกลุ่มในหมู่บ้าน) ในเขตตำบลศาลาใหม่ทั้งหมดจำนวน ๕๙๖ คนทุกๆ ๓ เดือน

 

596 0

4. กิจกรรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก

วันที่ 1 ตุลาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ตรวจฟัน เคลือบฟลูออไรด์ และบริการทันตกรรม ในเด็กอายุ ๓-๕ ปี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตรวจฟัน เคลือบฟลูออไรด์ และบริการทันตกรรม ในเด็กอายุ ๓-๕ ปี

 

0 0

5. กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังติดตามภาวะพัฒนาการ

วันที่ 27 เมษายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

พ่อ/แม่/ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กที่มีประวัติน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม (LBW : Low birth weight) ได้รับชุดทดสอบพัฒนาการเด็กอายุ 0–๖ ปี DSPM ๑ ชุดโดยสามารถประเมินและกระตุ้นพัฒนาการทุกช่วงอายุตามเกณฑ์ DSPM ได้ด้วยตัวเอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ชุดทดสอบพัฒนาการเด็กฯ DSPM จำนวน ๑๒ คนๆละ ๑ ชุดๆ ๑,๘๐๐.-บาท เป็นเงินจำนวน ๒๑,๖00.-บาทพร้อมได้รับความรู้วิธีการใช้ชุดทดสอบฯ สามารถประเมินและกระตุ้นพัฒนาการทุกช่วงอายุตามเกณฑ์ DSPM ได้ด้วยตัวเอง และเฝ้าระวังติดตามส่งเสริมพัฒนาการให้เป็นไปตามเกณฑ์อายุ และได้รับการตรวจประเมินในช่วงอายุ ๙ เดือน โดยจนท. และเฝ้าระวังติดตามในช่วงอายุ ๑๘ เดือน, ช่วงอายุ ๓๐ เดือน, ช่วงอายุ ๔๒ และช่วงอายุ ๖๐ เดือน

 

12 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดอัตราภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ.) และภาวะโภชนาการผอมในเด็กอายุ ๐ – ๖ ปี
ตัวชี้วัด : เด็กอายุ ๐ - ๖ ปี มีประวัติภาวะโภชนาการสมส่วน มากกว่าร้อยละ ๗๕
75.00

 

2 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักแก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการให้เวลาให้ความรักความอบอุ่น ดูแลด้านโภชนาการ ดูแลด้านส่งเสริมพัฒนาการ และการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ ๐ – ๖ ปี
ตัวชี้วัด : ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่เกิดในปี ๒๕๖๑ และมีประวัติน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ 2,500 กรัม (LBW : Low birth weight) สามารถประเมินและกระตุ้นพัฒนาการทุกช่วงอายุตามเกณฑ์ DSPM ได้ด้วยตัวเอง ด้วยตัวเองได้ ร้อยละ ๑๐๐
100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 596
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 596
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดอัตราภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ.) และภาวะโภชนาการผอมในเด็กอายุ ๐ – ๖ ปี (2) เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักแก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการให้เวลาให้ความรักความอบอุ่น ดูแลด้านโภชนาการ ดูแลด้านส่งเสริมพัฒนาการ และการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ ๐ – ๖ ปี

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมเสริมสร้างและเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการเด็กอายุ ๐-๖ ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม(คผ.) และ ผอม (2) กิจกรรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก (3) กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังติดตามภาวะพัฒนาการ (4) กิจกรรมเสริมสร้างและเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการเด็กอายุ ๐-๖ ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม(คผ.) และ ผอม (5) กิจกรรมมหกรรมการส่งเสริมฯ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการกิน กอด เล่า ฟันดี ต.ศาลาใหม่ ปี 2562 จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 62-L2487-1-09

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางพัตมา วาเด็งพงษ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด