กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ต.ศาลาใหม่ ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2487-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 6,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นส.ฟาตินี พิริยศาสน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,102.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษแบบเฉียบพลันและเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ทป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น จากการดำเนินงาน ในปี ๒๕๖๑ มีเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไม่ได้เป็นเกษตรกร) ได้รับคัดกรองประเมินความเสี่ยง (แบบ นบก.๑) จำนวน ๗๔ คน จากการคัดกรองฯ พบว่าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่ำ และพบว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างสูงจนถึงเสี่ยงสูงมาก จำนวน ๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๔ และได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรองโดยใช้กระดาษ Reactive paper จำนวน ๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ (จากทั้งหมดที่ได้รับการคัดกรองฯ ตามแบบ นบก.๑) จากผลการตรวจเลือดฯ พบว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง จำนวน 1๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๖๗ และพบว่าเป็นกลุ่มที่ไม่ปลอดภัย จำนวน ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๙.๒ รวมทั้งหมด ๑๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๘๓ ลดลงจากปี ๒๕๖๐ ร้อยละ ๒๒.๒๒ (ปี ๒๕๖๐ พบจำนวนรวม ๒๕ คน ร้อยละ ๖๙.๔๔) จะเห็นได้ว่าทั้งกลุ่มเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไม่ได้เป็นเกษตรกร) บางส่วนยังใช้และสัมผัสกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีการปฏิบัติตัวป้องกันสารเคมีเป็นอย่างดี จึงมีความจำเป็นจะต้องดูแลสุขภาพของเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ให้ปลอดภัยจากโรคภัยที่เกิดจากการสะสมสารเคมีในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคเรื้อรัง ฯลฯ ไปพร้อมๆกับการส่งเสริมวิธีธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืชทดแทนสารเคมีให้มากขึ้น เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เกิดความตระหนัก และการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้วิธีธรรมชาติ เช่นการใช้สมุนไพรในการถอนพิษสารเคมี ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดีพึ่งตนเองได้ และเพื่อผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จึงได้จัดโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย กายจิตผ่องใส ต.ศาลาใหม่ ปี 2562 นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีการจัดบริการเฝ้าระวังสุขภาพและคัดกรองความเสี่ยงเชิงรุกแก่เกษตรกร

๑. เกษตรกรที่มีผลจากการประเมินความเสี่ยง (แบบ นบก.๑) เป็นเสี่ยงค่อนข้างสูงถึงเสี่ยงสูงมากได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรองผู้เสี่ยงต่อพิษสารกำจัดศัตรูพืช (วิธี Cholinesterase Reactive paper) ร้อยละ 100

0.00
2 ข้อที่ ๒ เพื่อให้เกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชมีความรู้ และความตระหนักในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

๒. เกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืช ที่ได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรองโดยใช้โดยใช้ Cholinesterase Reactive paper พบว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง และเป็นกลุ่มที่ไม่ปลอดภัย ลดลงจาก ปี 2561 อย่างน้อยร้อยละ ๓๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 6,000.00 2 6,000.00
1 เม.ย. 62 - 30 ส.ค. 62 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 60 6,000.00 6,000.00
8 ส.ค. 62 กิจกรรมคัดกรองความเสี่ยงเกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชทุกคน 60 0.00 0.00

ขั้นที่ ๑ เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ ๑. ประสานงานเครือข่ายในการประชาสัมพันธ์ ๒. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ ๓. เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ขั้นที่ ๒ ดำเนินการตามโครงการ ๔ การจัดกิจกรรมการสัมภาษณ์แบบ นบก.๑ และการประเมินสภาวะทางจิตของเกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชทุกคน และการเจาะเลือดตรวจคัดกรองโดยใช้กระดาษ Reactive paper พร้อมคืนข้อมูลผลการประเมินความเสี่ยงให้เกษตรกรและชุมชน และแนะนำวิธีการดุแลสุขภาพและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยเป็นรายบุคคล/รายกลุ่มทั้งในชุมชน และในคลินิกเกษตรกร ๕ การจัดคลินิกเกษตรกรปลอดโรคเพื่อให้คำปรึกษาและติดตามอาการ โดยจะส่งต่อพบแพทย์เพื่อรักษาในกรณีที่มีอาการรุนแรง ๖ จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่องอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช วิธีการป้องกันป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้น การวินิจฉัยการรักษาเบื้องต้น การส่งต่อเพื่อพบแพทย์เฉพาะทาง การใช้สมุนไพรลดล้างพิษ การล้างผักเพื่อลดสารปนเปื้อนและการให้คำปรึกษาเพื่อลดความเครียด
๗ จัดกิจกรรมการเจาะเลือดตรวจคัดกรองโดยใช้ Cholinesterase Reactive paper ในกลุ่มเกษตรกรทั่วไป/กลุ่มใช้สารเคมีกำจัดพืช/กลุ่มเกษตรกรที่คัดกรองจากแบบสัมภาษณ์ นบก.๑ แล้วพบผลความเสี่ยงตั้งแต่เสี่ยงปานกลาง จนถึงผลเสี่ยงสูงมาก จำนวน 6๐ คน ขั้นที่ ๓ สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล ๘. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ และรายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ ขั้นที่ ๔ การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ๙. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชขั้นที่ ๑ เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ ๑. ประสานงานเครือข่ายในการประชาสัมพันธ์ ๒. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ ๓. เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ขั้นที่ ๒ ดำเนินการตามโครงการ ๔ การจัดกิจกรรมการสัมภาษณ์แบบ นบก.๑ และการประเมินสภาวะทางจิตของเกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชทุกคน และการเจาะเลือดตรวจคัดกรองโดยใช้กระดาษ Reactive paper พร้อมคืนข้อมูลผลการประเมินความเสี่ยงให้เกษตรกรและชุมชน และแนะนำวิธีการดุแลสุขภาพและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยเป็นรายบุคคล/รายกลุ่มทั้งในชุมชน และในคลินิกเกษตรกร ๕ การจัดคลินิกเกษตรกรปลอดโรคเพื่อให้คำปรึกษาและติดตามอาการ โดยจะส่งต่อพบแพทย์เพื่อรักษาในกรณีที่มีอาการรุนแรง ๖ จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่องอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช วิธีการป้องกันป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้น การวินิจฉัยการรักษาเบื้องต้น การส่งต่อเพื่อพบแพทย์เฉพาะทาง การใช้สมุนไพรลดล้างพิษ การล้างผักเพื่อลดสารปนเปื้อนและการให้คำปรึกษาเพื่อลดความเครียด
๗ จัดกิจกรรมการเจาะเลือดตรวจคัดกรองโดยใช้ Cholinesterase Reactive paper ในกลุ่มเกษตรกรทั่วไป/กลุ่มใช้สารเคมีกำจัดพืช/กลุ่มเกษตรกรที่คัดกรองจากแบบสัมภาษณ์ นบก.๑ แล้วพบผลความเสี่ยงตั้งแต่เสี่ยงปานกลาง จนถึงผลเสี่ยงสูงมาก ในพื้นที่หมู่ ๒ ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรของตำบลศาลาใหม่ จำนวน 6๐ คน ขั้นที่ ๓ สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล ๘. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ และรายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ ขั้นที่ ๔ การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ๙. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ๒. เกษตรกรมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2562 15:29 น.