กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ต.ศาลาใหม่ ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2487-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 16,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นส.อัสมา แวอารง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,102.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์ทางการแพทย์แขนงหนึ่งที่เป็นลักษณะแนวสุขภาพแบบองค์รวม โดยองค์ความรู้ที่ใช้จะเป็นองค์ความรู้ที่สั่งสมกันมาแต่ในอดีตบวกกับการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในปัจจุบัน หรือที่เราได้ยินว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อมาดูแลสุขภาพ โดยส่วนใหญ่แล้วศาสตร์การแพทย์แผนไทย เราจะมาใช้ในแง่สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค หรือการฟื้นฟู (http://www.si.mahidol.ac.th) เพื่อช่วยให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัยและเอื้ออาทรกัน จึงควรส่งเสริมให้มีการปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ ส่วนประกอบของสารอาหารและสรรพคุณทางยาในพืช ผัก และผลไม้พื้นบ้านต่างๆ เราสามารถรู้ได้จากการศึกษาวิจัยทางเภสัชโภชนาว่ามีสรรพคุณอย่างไร และเมื่อนำไปใช้แล้วก็ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ด้วยสรรพคุณของพืชผักพื้นบ้านหลายชนิดจะช่วยบำรุงและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ทำให้ในชุมชมมีความเอื้ออาทรต่อกัน เกิดการสร้างสรรค์ มีความมั่นคงแข็งแรงขึ้น ในชุมชนจึงควรนำความเป็นวิทยาศาสตร์ของพืชผักพื้นบ้านมาส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของชุมชนด้วย สมุนไพรกับขอบเขตของวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมสุขภาพชุมชน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพทางกายและจิตใจของคนในชุมชน จึงควรมีการส่งเสริมการปลูกพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางยาขึ้น เช่น ในบ้านก็มีการปลูกพืชผักสวนครัวพื้นบ้าน ไม้มงคลเอาไว้ หรือตามสถานที่ต่างๆ ในชุมชนก็ปลูกพืช ผัก ผลไม้ที่ใช้ประกอบอาหารได้ พืชที่รักษาสภาพแวดล้อมหรือพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับชุมชน เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการและทางสรรพคุณทางยาแก่สุขภาพร่างกายและจิตใจให้มากที่สุด ในชุมชนจึงควรส่งเสริมให้มีการใช้พืช ผัก และผลไม้ต่างๆ เพื่อประกอบอาหารอย่างถูกวิธี ส่งเสริมสุขภาพทางจิตใจด้วยการส่งเสริมให้มีการสกัดและใช้น้ำมันระเหยจากพืชสมุนไพรต่างๆ (http://www.healthcarethai.com) ในปี ๒๕๖๑ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จากทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พบผู้ป่วยผู้สูงอายุโรคเบาหวาน จำนวน ๓๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๒๒ ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด (๙๒ ราย) พบผู้ป่วยผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๓๒๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๕๐ ของผู้ป่วยโรคความโลหิตสูงทั้งหมด (๖๔๘ ราย) และพบผู้ป่วยผู้สูงอายุโรคเบาหวานร่วมโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๘๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๒๘ ของผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมโรคความดันโลหิตสูง (๑๗๔ ราย) และพบจากทะเบียนผู้ป่วยนอกผู้ป่วยนอก พบผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดเมื่อย และปวดกล้ามเนื้อ จำนวน ๖๕๒ คน ๗๖๖ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ ๘.๘๕ ของผู้ป่วยนอกทั้งหมด (๗,๓๕๙) จะเห็นได้ว่าเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวนมาก รวมไปถึงกลุ่มเสี่ยง ต้องได้รับการการส่งเสริมสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และป้องกันโรคด้วยตัวเอง การใช้ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพ เช่น การปลูกสมุนไพรกินเอง ถือเป็นการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน ลดปัญหาสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย ที่อาจส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆและโรคมะเร็งอื่นๆ ได้ในอนาคต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ได้จัดโครงการนี้ขึ้น ในการจัดระบบริการแบบใหม่ การส่งเสริมการปลูกสมุนไพรกินเอง การปรับประยุกต์ใช้หลักสูตรด้านอาหารพื้นบ้านและแพทย์แผนไทยหรือประเพณีพื้นบ้าน การฝึกทักษะการปรุง การใช้ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยา อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ รวมไปถึงการพัฒนาสูตรอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการรับบริการการแพทย์แผนไทยในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มากกว่าร้อยละ ๑๐ ของผู้ป่วยนอกทั้งหมด

0.00
2 เพื่อส่งเสริมด้านอาหารพื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยในการรักษาป้องกันโรค ในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันฯและโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยและที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันฯและโรคเบาหวาน ได้รับกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคแผนไทย มากกว่าร้อยละ ๒๐ ของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยและที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันฯและโรคเบาหวานทั้งหมด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมการรับบริการการแพทย์แผนไทยในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมด้านอาหารพื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยในการรักษาป้องกันโรค ในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันฯและโรคเบาหวาน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

22 ก.ค. 62 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 50.00 2,230.00 -
5 ส.ค. 62 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 50.00 2,230.00 -
7 ส.ค. 62 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 3 50.00 2,230.00 -
16 ส.ค. 62 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 50.00 2,230.00 -
19 ส.ค. 62 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 5 50.00 2,230.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นที่ ๑ เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ
๑. สำรวจกลุ่มเป้าหมายให้เป็นปัจจุบัน
๒. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ
๓. เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ และประสานงานเครือข่ายในการประชาสัมพันธ์
ขั้นที่ ๒ ดำเนินการตามโครงการ
๔. จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการปลูกสมุนไพรกินเอง ได้แก่ กระเพราแดง ขิง ตะไคร้ ช้าพลู บัวบก ฟ้าทะลายโจร มะกรูด มะระขี้นก ว่านหางจระเข้ และสะระแหน่ และเรื่องด้านอาหารพื้นบ้านและแพทย์แผนไทย การฝึกทักษะการปรุง การใช้ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยา และสาธิตการทำยาสมุนไพรในการรักษาบรรเทาโรค (ยาหม่อง/น้ำมันไพล) ในกลุ่มผู้สูงอายุผู้ป่วยเรื้อรัง/กลุ่มเสี่ยงโรคความดันฯและโรคเบาหวาน/สมาชิกผู้เข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุฯ ทั้ง ๕ ชมรม (ชมรมผู้สูงอายุวัดโคกมะเฟือง, ชมรมผู้สูงอายุวัดปิบผลิวัน, ชมรมผู้สูงอายุบ้านศาลาใหม่, ชมรมผู้สูงอายุบ้านคลองตัน, ชมรมผู้สูงอายุบ้านคลองเลย) จำนวน ๒๕๐ คน
๕. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โดยจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์พร้อมขาตั้งโรลอัพ (Roll up) ในการประชาสัมพันธ์เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยผักสมุนไพรและอาหารพื้นบ้าน สำหรับใช้ประกอบการเรียนรู้กิจกรรมปรับเปลี่ยนสุขภาพด้านอาหาร ในการจัดทำกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ และกิจกรรมปรับเปลี่ยนสุขภาพกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยด้วยปิงปองเจ็ดสี ที่มีทุกๆ ๑-๒ เดือน
ขั้นที่ ๓ สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล
๕. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ และรายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ
ขั้นที่ ๔ การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง
๖. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสมุนไพรไทยเป็นทางเลือกที่ใช้ดูแลสุขภาพในเบื้องต้น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วยแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมากขึ้น
๒. ผู้สูงอายุกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันฯและโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2562 15:33 น.