กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดีชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 62-L1523-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 20,118.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุณี จำนงค์
พี่เลี้ยงโครงการ นางจินดา สินฝาด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 20,118.00
รวมงบประมาณ 20,118.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 370 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพผู้สูงอายุ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้แก่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคข้อเสื่อม ที่จะเกิดขึ้นในวัยผู้สูงอายุได้ง่าย ตลอดจนปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ แม้ว่าอัตราการเพิ่มของผู้สูงอายุจะเป็นไปในลักษณะค่อนข้างช้าก็ตาม แต่ย่อมก่อให้เกิดปัญหาและภาระในระดับครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติได้ การเสื่อมถอยของสุขภาพและภาวะทางด้านจิตใจ การต้องพึ่งพาผู้อื่นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมทำให้ผู้สูงอายุไม่ยอมรับและไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้ เกิดความอ้างว้างโดดเดี่ยว รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า ในการดูแลสุขภาพของร่างกาย จิตใจและสังคมทั้งของครอบครัวและชุมชนนอกจากนี้ผู้สูงอายุยังเป็นบุคคลที่จะต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดีและอย่างใกล้ชิดที่สุดจากญาติพี่น้องหรือบุตรหลาน กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่าชุมชนที่มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ถือเป็นชุมชนที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจำเป็นต้องมีการส่งเสริมเตรียมความพร้อมของชุมชน  เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรงสมบูรณ์มีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันโรคเรื้อรังภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังและการฟื้นฟูสภาพเพื่อควบคุมโรคไม่ให้กำเริบรุนแรงทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอย่างมีคุณค่าสมารถทำประโยชน์ให้แก่ครอบครัวและสังคมเป็นเสาหลักของลูกหลานและมีความสุขในบั้นปลายของชีวิตซึ่งจากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่ ๓,๔,๕และ ๖ตำบลนาเมืองเพชรปี ๒๕๕9 –๒๕61 พบว่า
ปี ๒๕๕9มีผู้สูงอายุ จำนวน ๓๕๔คน อัตราร้อยละ ๑๓.๘๗ ปี ๒๕60มีผู้สูงอายุ จำนวน ๓60คน อัตราร้อยละ ๑๓.99 ปี ๒๕61มีผู้สูงอายุ จำนวน ๓70คน อัตราร้อยละ ๑4.50 นับว่าเป็นชุมชนที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุทุกๆปีนั้น จำเป็นต้องมีการส่งเสริมเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ/แกนนำสุขภาพทั้งในด้านร่างกาย จิตใจและสังคมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จึงได้นำข้อมูลเสนอต่อชุมชน อสม./แกนนำ และชมรมผู้สูงอายุตำบลนาเมืองเพชรจึงได้มีมติให้จัดทำโครงการนี้ขึ้น ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 (๑) เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อสม./แกนนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุ (๒) เพื่อสร้างเครือข่ายกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านสุขภาพ

(๑)ร้อยละ ๙5ของผู้สูงอายุได้รับการประเมินคัดกรองข้อมูลและความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน(ADL) (๒)ร้อยละ 4๐ ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ ๑(ติดสังคม) มีสุขภาพที่พึงประสงค์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 1. ประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ของผู้สูงอายุ/การมีสุขภาพที่พึงประสงค์ 370 5,555.00 -
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ ๒.อบรมอสม./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุ 90 13,438.00 -
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 3.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านสุขภาพของอสม./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุ 45 1,125.00 -
รวม 505 20,118.00 0 0.00

๑.สำรวจ จัดทำและปรับปรุงทะเบียนรายชื่อผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน ๒.จัดเตรียมสถานที่ฝีกอบรม และประสานงานวิทยากร ๓.ทีมหมอครอบครัว ประเมินคัดกรองความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ/การมีสุขภาพที่พึงประสงค์ ประเมินวิเคราะห์สภาพปัญหา สมรรถนะสุขภาพของผู้สูงอายุ
4.กิจกรรม อบรม อสม./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตามสภาพปัญหา
5.ทีมหมอครอบครัว ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ เพื่อประเมินสุขภาพและติดตามผล 6.กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สุขภาพของ อสม./แกนนำผู้ดูแล
    ผู้สูงอายุ หลังการอบรมพัฒนาศักยภาพ 1 เดือน       7. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุมีความรู้ สามารถใช้ศักยภาพดูแลผู้สูงอายุให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายสุขภาพใจที่แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2562 16:26 น.