กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภค อาหารปลอดภัย ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L4135-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบุดี
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 11,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาอิชะห์ โต๊ะกูบาฮา
พี่เลี้ยงโครงการ สุชาดา สุวรรณคีรี
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บโดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการคุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน
การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี อำเภอเมืองจังหวัดยะลาจึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภค อาหารปลอดภัย ปี 60 ขึ้นมาเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาร้านอาหารแลแผงลอยจำหน่ายอาหารที่มีและที่เพิ่มใหม่ให้ผ่านเกณฑ์ CFGTและท้องถิ่น

 

2 เพื่อตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสดที่จำหน่ายในแผงลอยจำหน่ายอาหารสดในพื้นที่ให้ผ่านการตรวจ และให้ได้รับป้ายอาหารปลอดภัย (Food Safety)

 

3 ร้านค้า - แผงลอยในชุมชนจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยกับประชาชนในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑ จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการคุ้มครองผู้บริโภค อาหารปลอดภัย ๑.๒ เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน


๒. ขั้นดำเนินการ 2.1 เชิญวิทยากรจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อและบริโภคอาหารและสินค้าผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ปลอดภัยที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่กลุ่มผู้ประกอบการ/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด//ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/อาสาสมัครสาธารณสุข/ผู้นำนักเรียน ชมรม อย.น้อย/ครูอนามัยโรงเรียน/และ ภาคีเครือข่ายฯ ๒.๒ แกนนำร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจติดตาม ให้คำแนะนำแผงลอยให้ผ่านเกณฑ์ CFGT และเกณฑ์ท้องถิ่นพร้อมตรวจแนะนำร้านขายของชำให้ได้มาตรฐาน ๒.๓ แกนนำร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกตรวจสารปนเปื้อน แผงจำหน่ายอาหารสด เพื่อประเมินให้การรับรองป้ายอาหารปลอดภัย(Food Safety) ๒.๔ สรุปผลการดำเนินงานระหว่างการทำกิจกรรม เพื่อหาปัญหาระหว่างการดำเนินงาน พร้อมแนวทางแก้ไขและเฝ้าติดตามตรวจสอบ ๒.๕ รณรงค์สร้างกระแสในชุมชนให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการเลือกซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ๒.๖ คณะทำงานเฝ้าระวังและการติดตามระดับตำบล ประเมินผลการดำเนินงาน พร้อมมอบป้ายแผงจำหน่ายอาหารสด ร้านขายของชำในพื้นที่ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินเป็นร้านค้าตัวอย่างของตำบล
๓. ขั้นติดตามประเมินผล ๓.๑ ดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนซ้ำทุก ๖ เดือน ๓.๒ ดำเนินการตรวจมาตรฐานการจัดตั้งร้านขายอาหารซ้ำทุกๆ ๖ เดือน ๓.๓ ดำเนินการตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียภายในร้านอาหารซ้ำทุกๆ ๖ เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้ประกอบการด้านอาหาร,ผู้ประกอบการร้านขายของชำและผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในอาหารและผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย ๒.แผงลอยจำหน่ายอาหารที่ได้รับการติดตาม พัฒนาให้ผ่านเกณฑ์และความเหมาะสมได้รับป้าย CFGT ๓.แผงลอยอาหารสดได้รับการตรวจสารปนเปื้อน ๔ ชนิดและความเหมาะสมได้รับป้าย Food Safety ๔.ร้านขายของชำได้รับการตรวจแนะนำตามแบบตรวจแนะนำร้านค้า ๕.ชุมชนตระหนักถึงความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2560 11:09 น.