กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสดใส รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L4147-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 25 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 30,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิเด๊าะ อิแตแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 515 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นหนึ่งในหน่วยงานราชการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ที่มุ่งเน้นการเป็นผู้นำด้านวิชาการและเทคโนโลยีการป้องกันและควบคุมโรคของประเทศและระดับนานาชาติ กรมควบคุมโรค เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูงจึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศ มาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานมากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญคือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุม ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าแม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายการรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นวิธีที่ง่ายดายปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคบางอย่างความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้นมากมายหลายเท่าเพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมดและควรได้รับตรงเวลาอีกด้วย เนื่องจากปีที่ผ่านมา พุทธศักราช 2561ได้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชานแดนภาคใต้ เช่น โรคหัด และมีการระบาดอย่างหนักในพื้นที่ใกล้เคียงรวมถึง ตำบลบาโงยซิแนซึ่งพบผู้ป่วยโรคหัด ตั้งแต่ เดือน มกราคม 2561 – ตุลาคม 2561จำนวน27 ราย และพบว่าที่ป่วยเป็นโรคส่วนใหญ่ ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ และในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน พบว่ามีอัตราการได้รับวัคซีนในเด็กอายุ 0– 5 ปี ใน ปี 2561 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 80.89 ซึ่งสูงกว่าปี 2560 คือ ร้อยละ 60.08แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายของประเทศ คือ ร้อยละ 90ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีน หรือกลัวบุตรเจ็บไข้ได้ป่วยหลังการรับวัคซีน จึงไม่นำเด็กมารับบริการฉีดวัคซีน ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน และอาจจะไม่นำบุตรมาฉีดวัคซีนตามนัด ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนและเพื่อให้เด็กในพื้นที่มีสุขภาพแข็งแรงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในเรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
  1. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในเรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคร้อยละ 90
80.00 90.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของเด็ก 0 – 5 ปี
  1. ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของเด็ก อายุ 0 – 5 ปี ร้อยละ 90
  2. อัตราป่วยในเด็กอายุ 0-5 ปี สามารถป้องกันโรคจากการป้องกันด้วยวัคซีนไม่เกิน ร้อยละ 10
80.89 90.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้แกนนำสาธารณสุข อสม. ประชาชนที่สนใจและผู้ปกครองเด็กได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

ร้อยละ 70 ของแกนนำสาธารณสุข อสม. ประชาชนที่สนใจและผู้ปกครองเด็กได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 30,600.00 0 0.00
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 1. การอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี 70 15,400.00 -
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 2. การรณรงค์ สร้างกระแส 0 15,200.00 -
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 3. การติดตาม และประเมินผล 0 0.00 -

1.การอบรมให้ความรู้แก่แกนนำสาธารณสุข อสม. ประชาชนที่สนใจและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหา
ค่าใช้จ่าย
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 70 คน x 2 มื้อเป็นเงิน 3,500 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท x 70 คนx 1 มื้อเป็นเงิน 4,900 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมง 600 บาท x 5 ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท
-ค่าวัสดุและค่าใช้จ่ายในการอบรม เป็นเงิน 4,000 บาท (เช่น ปากกา สมุด แฟ้มใส่เอกสาร ค่าถ่ายเอกสารประกอบการบรรยาย กระดาษพรูฟ เป็นต้น)
รวม 15,400 บาท

2.การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์
-จัดทำแผ่นพับ/ไวนิล เพื่อประชาสัมพันธ์ แต่ละหมู่บ้าน
-รณรงค์ให้ผู้ปกครองพาเด็ก อายุ 0-5 ปี มารับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ
-การเสริมสร้างแรงจูงใจ โดยการมอบเกียรติบัตรแก่เด็ก 0-5 ปี ที่รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ดังนี้
- เด็กอายุครบ 1 ปี ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์จำนวน 12 ราย (หมู่ละ 2 ราย)
- เด็กอายุครบ 2 ปี ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์จำนวน 12 ราย (หมู่ละ 2 ราย)
- เด็กอายุครบ 3 ปี ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์จำนวน 12 ราย (หมู่ละ 2 ราย)
- เด็กอายุครบ 5 ปี ที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์จำนวน 12 ราย (หมู่ละ 2 ราย)
ค่าใช้จ่าย
-สื่อแผ่นพับความรู้ จำนวน 500 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
-สื่อไวนิล ความรู้พร้อมขาตั้ง จำนวน 2 ชุด ๆละ 1,500 เป็นเงิน 3,000 บาท
-ค่าเกียรติบัตรพร้อมกรอบ สำหรับเด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และสุขภาพแข็งแรง เป็นเงิน 7,200 บาท (รายละเอียด กรอบรูปพร้อมเกียรติบัตร จำนวน 36 ชิ้น)
รวม 15,200 บาท

3.การติดตาม และประเมินผล
-อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ มีการติดตามเยี่ยมบ้านเด็ก 0-5 ปี อย่างต่อเนื่องทุกเดือน ผ่านหนังสือจดหมายน้อยถึงผู้ปกครองในรายที่ขาดการการรับวัคซีน
-รายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ
-ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ
รวม 0.00 บาท

รวมงบประมาณทั้งสิ้น 30,600 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้ในเรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
  2. ผู้ปกครอง 0-5 ปี มีความตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
  3. การได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีความครอบคลุมร้อยละ 90
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2562 10:28 น.