กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ”การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน(BLS)และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าอัตโนมัติ(AED) แก่นักเรียนและนักศึกษาในเขตเทศบาลนครสงขลา ปีงบประมาณ 2562

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ”การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน(BLS)และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าอัตโนมัติ(AED) แก่นักเรียนและนักศึกษาในเขตเทศบาลนครสงขลา ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L7250-01-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสงขลา
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 118,990.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางปาณิสรา สิทธิคง) พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปี 2561 กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนม พรรษา 66 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ จิตอาสา และประชาชนทั่วไป ที่จังหวัดนนทบุรี สงขลา ปัตตานี รวมกว่า 1,500 คน และในกลุ่มบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขส่วนกลาง จำนวน 20 รุ่น รวม 1,000 คน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ ( AED) สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันได้อย่างถูกวิธี รวดเร็ว ทันท่วงที เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตแก่ผู้ที่มีจากภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ และทุกเวลา “แต่ละปี คนไทยเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันกว่า 54,000 คน หรือเฉลี่ย 1 ชั่วโมงละ 6 คน แต่หากได้รับการช่วยเหลือด้วยการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) อย่างถูกต้อง และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ภายในระยะเวลา 4 นาทีหลังจากหัวใจหยุดเต้น จะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันได้ อย่างเช่นกรณีน้องน้ำว้า นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเพชรพิทยาคม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ที่นำความรู้เรื่องการ CPR ที่ได้รับจากการเข้าค่ายอบรมค่ายหนึ่ง สามารถช่วยชีวิตคนตกต้นไม้และหัวใจหยุดเต้นรอดชีวิต จนได้รับความชื่นชมอย่างมากบนโลกโซเชียล”
ศูนย์บริหารงานบริการปฐมภูมิเครือข่ายบริการสุขภาพ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสงขลา เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ”การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน(BLS)และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าอัตโนมัติ(AED) แก่นักเรียนและนักศึกษาในเขตเทศบาลนครสงขลา ปีงบประมาณ 2562 ให้แก่นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาในเขตเทศบาลนครสงขลา เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยให้พ้นจากอันตรายได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพก่อนถึงโรงพยาบาลต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ในการปฐมพยาบาล และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
  1. ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ และฝึกปฏิบัติ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
80.00
2 ๒. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้รับการฝึกทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่อง ช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) ได้อย่างถูกต้อง
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะเรื่องการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR)
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑. ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. ประสานงานโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ/มหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้อง/คณะทำงาน ในรายละเอียดโครงการ/ กิจกรรม         และติดตามการดำเนินงานโครงการ 2. การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมที่ ๑. การช่วยฟื้นคืนชีพ กิจกรรมที่ ๒. การใช้เครื่อง AED กิจกรรมที่ ๓. การปฐมพยาบาลเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมติดคอในเด็กและผู้ใหญ่   2.1 การจัดอบรมนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 5 วัน   2.2 การจัดอบรมนักศึกษาชั้นปีที่ 1-2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จำนวน 1 วัน   ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ติดตาม/ประเมินผลการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้แบบประเมินความรู้-ทักษะก่อนและหลังการ       อบรม 2. ผู้เข้าอบรมผ่านการฝึกทักษะการปฏิบัติการจริงจากสถานการณ์จำลองทั้ง 3 กิจกรรมได้อย่าง       ถูกต้อง โดยมีครูพี่เลี้ยงเป็นผู้ประเมิน 3. สรุปผลการดำเนินงาน /ประเมินผลโครงการ และจัดทำเอกสารรูปเล่ม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กระตุ้นเตือนให้ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักรู้และเข้าใจ ในการมีส่วนร่วมในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเองและ   บุคคลใกล้ตัวได้อย่างถูกวิธีก่อนถึงโรงพยาบาล
  3. สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2562 11:28 น.