กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกพื้นที่ชุมชน เขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L7250-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนตีนเมรุ
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 40,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ( นาง ชูลี สุขะปุณพันธ์ ) ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนตีนเมรุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 175 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะของโรค เป็นปัญหาสำคัญของจังหวัดสงขลา ที่พบอัตรากาอัตราการป่วยสูงทุกปี สำหรับข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี2561(ข้อมูล ณ วันที่ 12 พ.ย.2561) พบว่า ประเทศไทย จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 73,679 ราย, อัตราป่วย(ปชก.ต่อแสนคน) เท่ากับ 112.61,เสียชีวิต 95 ราย,อัตราป่วยตาย ร้อยละ0.13 จังหวัดสงขลาอยู่ลำดับที่34 (ข้อมูล ณ วันที่ 15 พ.ย. 2561)จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 1,569 ราย , อัตราป่วย(ปชก.ต่อแสนคน) เท่ากับ 113.49,เสียชีวิต 3 ราย,อัตราป่วยตาย ร้อยละ0.19ข้อมูลสถานการณ์โรค อ.เมืองสงขลาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 ถึงวันที่ 15 พ.ย. 2561 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวม จำนวนทั้งสิ้น 361 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 211.1 ต่อปชก.แสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต
พื้นที่ชุมชนเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา ทั้ง 7 แห่ง ปี 2558 พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 5 ราย ปี 2559 มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น จำนวนทั้งหมด 33 ราย ปี2560 พบป่วยทั้งหมด 8 ราย ปี2561 พบป่วยทั้งหมด 6 ราย ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่บ้านและชุมชนที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของยุงลาย มีแหล่งเพาะพันธ์ยุง เช่น ภาชนะ ขยะ ที่มีน้ำขังง่าย ดังนั้นการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดี(ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง ปฏิบัติเป็นนิสัย)ให้น่าอยู่และปลอดภัยจากโรคในชุมชนควรเป็นหน้าที่ร่วมกันของประชาชนในชุมชนทุกคน และควรทำอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมการระบาดของโรค จึงได้จัดทำโครงการปี2562 เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่บ้านและชุมชนให้เหมาะสม สะอาด น่าอยู่ อย่างต่อเนื่อง
  1. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่น้อยกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง
0.00
2 2. เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ประชาชนในชุมชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
  1. ค่า HI ของชุมชน  ≤  10
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงแกนนำทีมทำงานในชุมชน 7 แห่ง
    1. จัดกิจกรรมรวมพลังจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ปลอดภัย ปลอดโรค (Big cleaning day) ในชุมชน 7 แห่ง       จำนวน 2 ครั้ง (จัดกิจกรรมพร้อมกันทุกชุมชน)
  2. สำรวจสิ่งแวดล้อมในชุมชน ( มีค. – สค. 2561 ) ชุมชน 7 แห่ง จำนวน 4 ครั้ง
  3. จัดทำธนาคารปลาหางนกยูงเพื่อสนับสนุนการหยุดวงจรชีวิตลูกน้ำ ตามวิถีธรรมชาติ โดยให้ปล่อยปลาหางนกยูงในแหล่งที่มีบ่อ อ่างบัวหรือถังเก็บสำรองน้ำใช้บริเวณบ้าน
  4. ประเมินผล สรุปโครงการ สิ้นเดือนสิงหาคม 2562
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบลดลง ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่บ้านและชุมชน และค่า HI ของชุมชน ≤ 10

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2562 11:49 น.