กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “พัฒนาการทำงานส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพ”
รหัสโครงการ 62-L7250-2-30
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนไทรงาม
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 19,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางสมจิต ฟุ้งทศธรรม) ประธาน อสม.ชุมชนไทรงาม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่ม อสม.ชุมชนวัดไทรงามห่วงใยใส่ใจสุขภาพ ร่วมกับเครือข่ายเอชไอวี / เอดส์ จังหวัดสงขลาได้มีแนวทางการทำงานส่งเสริมป้องกันภารกิจติดเชื้อฯรายใหม่ และส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีโดยใช้การทำงานของกลุ่มที่มีการทำงานร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนและองค์กรชุมชนตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา กลุ่มได้มีการขยายงานเชิงรุกเพื่อจัดกิจกรรมในชุมชน สถานศึกษากลุ่มเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน พ่อบ้าน เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงบริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ  ( vcct – voluntary Confidential counseling and Testing) โดยจัดบริการเชิงรุกในชุมชนเพื่อให้ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่บริการได้เร็วขึ้น และหากพบว่าติดเชื้อเอชไอวีจะได้เข้าถึงการรักษาโดยไม่ต้องรอให้ป่วย และจะส่งผลอีกด้านคือการสร้างความเข้าใจลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีนำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมได้ นอกจากนั้นในการจัดบริการเชิกรุกนี้ยังได้มุ่งเน้นส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เป็นประเด็นสำคัญในการทำงาน กลุ่มอสม.ไทรงามพิจารณาเห็นว่าประชาชนในพื้นที่ บุคลากรด้านสาธารณะสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ควรจะเป็นผู้มีบทบาทหลักในการทำงานทั้งการส่งเสริมการป้องกันและการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การทำงาน และร่วมกันจัดบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่จึงจะเป็นทิศทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์และเกิดความยั่งยืนในการทำงาน ทั้งนี้หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เนื่องจากเป็นภารกิจโดยตรงของกองทุนฯ ในการสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ได้ดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคให้แก่สมาชิกในพื้นที่ ดังนั้น กลุ่ม อสม.ไทรงามร่วมกับเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ จึงได้จัดทำแผนงานเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาการทำงานส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1 เพื่อพัฒนารูปแบบการทำงานส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพโดย อปท. ร่วมกับกลุ่ม อสม.ไทรงามและกลุ่มประชาชน

3.1 อปท. อย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่เป้าหมายมีแผนการทำงานและสนับสนุนงบประมาณกลุ่ม อสม.ไทรงาม เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

0.00
2 2.2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กลุ่มเป้าหมายในชุมชนโดยกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการปรึกษาและตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจในชุมชน

3.2 เกิดรูปแบบการทำงานส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพโดย อปท.ร่วมกับกลุ่ม อสม.ไทรงามโดยมีตัวอย่างโครงการที่กลุ่มประชาชนสามารถนำไปขยายผลและขอรับการสนับสนุนต่อไป

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและการตรวจเลือดโดยสมัครใจเพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีตนเองได้อย่างถูกต้อง
    1. กรณีประเมินว่ามีความเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมายได้รับถุงยางอนามัยเพื่อป้องกัน
    2. กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือด ได้รับบริการตรวจเลือดโดยสมัครใจ
    3. กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจเลือดแล้วมีผลการตรวจเลือดเป็นบวกได้รับการติดตามและส่งต่อเข้ารับบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาที่คลินิกยาต้านไวรัสเอชไอวีที่หน่วยบริการและเข้ารับบริการจากกลุ่มศูนย์องค์รวม
    4. กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจเอดส์แล้วมีผลการตรวจเลือดเป็นลบได้รับการติดตามและมีกิจกรรมส่งเสริมการป้องกัน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อปท. มีแผนงานด้านการป้องกันเอชไอวีและด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง
    1. สปสช. มีแนวทางสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่ายในการทำงานส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
    2. ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ส่งผลต่อการลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่
    3. ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าถึงการรักษาเร็วขึ้นส่งผลต่อการลดอัตราการเสียชีวิตจากเอดส์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2562 11:53 น.