กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ศูนย์เตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 38,210.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมศักดิ์ สุคนธรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นายอนุชา ตันปิติกร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 38,210.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 38,210.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ ยา และ วัตถุอันตรายในบ้านเรือน เป็นสิ่งที่ประชาชนบริโภคตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพหรือบริโภคไม่ถูกต้องเหมาะสม ล้วนนำมาซึ่งความเจ็บป่วยและที่ร้ายแรงอาจนำมาถึงขั้นเสียชีวิต เช่น อาหารปนเปื้อนสารห้ามใช้หรือมีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้ การใช้ยาผิดหรือใช้ยาที่ไม่มีคุณภาพ มาตรฐาน ยาปลอม การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดโรคตั้งแต่ระบบทางเดินอาหาร โรคไต โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากจะทำให้ประชาชนเจ็บป่วยแล้ว ยังทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียงบประมาณการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทางอินเตอร์เน็ต การโฆษณาทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้จากผลการลงสำรวจของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ในพื้นที่ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา มีร้านชำจำนวน 53 ร้าน ร้านเสริมสวยจำนวน 6 ร้าน ร้านอาหาร-แผงลอยจำนวน 20 ร้าน และร้านขายยาจำนวน 2 ร้าน พบว่ามีบางร้านยังการจำหน่ายเครื่องอุปโภค บริโภค ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น ดังนั้น เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลโคกม่วง จึงได้จัดทำโครงการ จัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กลุ่มเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคตำบลโคกม่วง อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้ประกอบการในชุมชนได้มีความรู้ และมีส่วนร่วมในการติดตามเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ประชาชนต้องบริโภคและใช้ในชีวิตประจำวัน จนเกิดความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค ตลอดจนสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ผู้บริโภคมีความปลอดภัยไม่เกิดการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุจากการบริโภค อันจะส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 มีการดำเนินการศูนย์เตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ตำบลโคกม่วง โดยมีสถานที่และอุปกรณ์ พร้อมสำหรับปฏิบัติงาน

มีอาสาสมัครสาธารณสุข หรือแกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มาประจำศูนย์เตือนภัย สัปดาห์ละ 1 วัน

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ
  1. ร้อยละ 70 ของร้านขายของชำในชุมชนปลอดจากการจำหน่ายยา ที่ไม่สามารถจำหน่ายในร้านขายของชำ ร้อยละ 70 ของร้านขายของชำในชุมชนปลอดจากการจำหน่ายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่ได้คุณภาพ
0.00
3 ข้อที่ 3เพื่อให้ อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ

อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ หลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80

0.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อเฝ้าระวังการขายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในร้านขายของชำ

ร้อยละ 100 ของร้านขายของชำได้รับการตรวจสอบ/ติดตาม และเฝ้าระวัง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38.00 0 0.00
1 เม.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 ศูนย์เตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 0 38.00 -

1.ขั้นเตรียมการ 1.1จัดทำแนวทางการดำเนินงานศูนย์เตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนประจำปีงบประมาณ 2562       1.2 สำรวจผู้ประกอบการร้านขายของชำร้านเสริมสวย และร้านอาหาร-แผงลอย 1.3 เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 2. ขั้นดำเนินการ       2.1 ประชุมเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค       2.2 จัดตั้งแกนนำ อสม .เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค       2.3 จัดอบรมให้แก่เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องการใช้ applicationหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ อันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย และฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น เพื่อตรวจสารปนเปื้อน 2.4 จัดตั้งศูนย์เตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ตำบลโคกม่วง โดยมีสถานที่และอุปกรณ์ พร้อมสำหรับปฏิบัติงาน 2.5เฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน 3.ขั้นติดตามประเมินผล 3.1ดำเนินการสุ่มตรวจสอบร้านชำและร้านเสริมสวยทุกเดือน       3.2 สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนและกลุ่มเครือข่ายต่างๆในชุมชนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้สามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องและสมประโยชน์ เกิดความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค
2. ประชาชนและกลุ่มเครือข่ายต่างๆในชุมชน มีส่วนร่วมในการติดตามเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ สุขภาพ ผู้บริโภคมีความปลอดภัยไม่เกิดการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุจากการบริโภค
3.ชุมชนเข้มแข็งสามารถดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างยั่งยืน เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2562 14:09 น.