กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลจากสิ่งเสพติด
รหัสโครงการ 62-L7250-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 21,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางอารมณ์ มุณี) ประธาน อสม. ชุมชนหัวป้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กและเยาวชนถือเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต สังคมไทยปัจจุบันมีปัจจัย หลายด้าน  ที่ส่งผลกระทบเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กและเยาวชนไทย เช่น การก่อเหตุทะเลาะวิวาท การลักเล็กขโมยน้อย และการมั่วสุมเสพยาเสพติด เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีสิ่งกระตุ้นยั่วเย้าทางด้านวัตถุนิยมและสิ่งมอมเมาให้เยาวชนหลงใหลคลั่งไคล้ในการบริโภคนิยม รวมทั้งปัญหาทางครอบครัวที่มีผลต่อปัญหาดังกล่าวในวัยรุ่น ซึ่งการมั่วสุมเสพยาเสพติด เป็นต้นตอที่ส่งผลทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกหลายอย่าง ถือว่าเป็นปัญหาขั้นวิกฤติของเด็กและเยาวชนในวัยเรียนที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขและป้องกันอย่างเร่งด่วนในขณะนี้ ปัญหาเยาวชนติดยาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นปัญหาที่มักจะ โยงใยถึงกัน ซึ่งสาเหตุก็มาจากการอยากรู้อยากลอง ชักชวนกันมั่วสุม ขาดการยับยั้งชั่งใจโดยหน่วยงานต่าง ๆ  ต้องร่วมมือกันและเข้ามามีบทบาทในการช่วยกันแก้ไขปัญหานี้เป็นการส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้ให้เยาวชน  ได้ตระหนักถึงปัญหาจากยาเสพติดซึ่งมีสาเหตุมาจากการอยากรู้อยากลอง การชักชวนของเพื่อนฝูง การรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดการตระหนักถึงพิษภัยและผลเสียของมัน สิ่งยั่วยุความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร รวมไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่มีเวลาในการอบรมเลี้ยงดู ต้องประกอบอาชีพเพื่อหารายได้มาหาเลี้ยงครอบครัว เด็กและเยาวชน 7 ชุมชน ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง มีจำนวน 1,167 คน มีกลุ่มเสี่ยง จำนวน 270 คน และมีกลุ่มสูบบุหรี่จำนวน 125 คน ดังนั้น ๗ ชุมชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ได้ตระหนักถึงความสำคัญ  ของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เยาวชนปลอดภัย ห่างไกลจากสิ่งเสพติดเพื่อส่งเสริมความรู้    ให้เยาวชนได้ตระหนักถึงพิษภัยของปัญหายาเสพติด มีทักษะชีวิต มีการปรับทัศนคติ ค่านิยมเกี่ยวกับยาเสพติด  ในทางที่ถูกต้องและรู้จักหลีกเลี่ยงภัยอันตรายเหล่านั้น เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนไทย จึงได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลจากสิ่งเสพติดนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้เยาวชน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและ อสม.มีความรู้ตระหนักถึงพิษภัยและผลกระทบของยาเสพติด

๑. เยาวชน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและ อสม. ได้รับรู้ถึงปัญหาพิษภัยของยาเสพติดและผลกระทบของยา
          เสพติด ร้อยละ ๘๐

80.00
2 ๒. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิด การตอบปฏิเสธ และการสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกาย จิตใจ ให้กับเยาวชน ไม่ตกเป็นทาสของยาเสพติด

๒. เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการหลีกเลี่ยงยาเสพติด ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจง อสม. ทั้ง ๗ ชุมชนและเจ้าที่ PCU เตาหลวง เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงการจัดทำโครงการ ๒. จัดทำโครงการ ๓. เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ๔. ติดต่อประสานวิทยากรและสถานที่ในการจัดกิจกรรม ๕. จัดเตรียมเอกสาร, วัสดุอุปกรณ์ ๖. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลจากสิ่งเสพติด ๗. กิจกรรมเวทีติดตามประเมินผล 8. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เยาวชน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและ อสม.มีความรู้ตระหนักถึงพิษภัยและผลกระทบของยาเสพติด ๒. เยาวชนผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและ อสม.สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและมีทักษะในการป้องกันปัญหายาเสพติดของตนเองได้ ๓. เยาวชนที่ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถเป็นแกนนำในการให้ความรู้และป้องกันปัญหา
  ยาเสพติดในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2562 09:34 น.