กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา


“ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้อยู่ดีมีสุข ในเขตเทศบาลนครสงขลา ”

อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
(นางพันทิพย์ สุวรรณวงศ์) ประธานชมรมบานไม่รู้โรย

ชื่อโครงการ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้อยู่ดีมีสุข ในเขตเทศบาลนครสงขลา

ที่อยู่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 62-L7250-2-17 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้อยู่ดีมีสุข ในเขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้อยู่ดีมีสุข ในเขตเทศบาลนครสงขลา



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้อยู่ดีมีสุข ในเขตเทศบาลนครสงขลา " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 62-L7250-2-17 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 33,000.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาด้านสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทั้งส่วนบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ ดังนั้นการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากได้ปลูกฝังและเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพที่ดี ตลอดจนแนวทางการควบคุม    และป้องกันโรค ที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อภาวะสุขภาพของประชาชน ซึ่งการแพทย์แผนไทยเป็นกรรมวิธีทางภูมิปัญญาที่อิงความเป็นธรรมชาติ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย อีกทั้งยังเป็นการรักษาความเจ็บป่วยแบบองค์รวม  เป็นอีกทางเลือกหนึ่งด้านสุขภาพที่ประชาชนสามารถดูแลป้องกันตัวเองได้ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการเฝ้าระวังโรค ในการบำบัดรักษาโรคด้วยการแพทย์แผนไทย    ได้ใช้วิธีการอย่างหลากหลาย เพื่อให้ได้ผลการรักษาทั้งทางร่างกายและจิตใจ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่มีการรวมกลุ่ม  อย่างเข้มแข็งในการดูแลตนเองและแลกเปลี่ยนปัญหาทางด้านสุขภาพ ชมรมบานไม่รู้โรยได้เข้ามาเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้
จากการดำเนินงานของชมรมบานไม่รู้โรย ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ได้ดำเนินงานจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรมอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา ๑1 ปีแล้ว ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด ๔๓5 คน พบว่าสมาชิก  และประชาชนทั่วไปให้ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมบานไม่รู้โรย ได้แก่ การประชุมสมาชิกเป็นประจำ  ทุกเดือน เพื่อเรียนรู้การดูแลตนเอง การส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรมจากวิทยากรและแลกเปลี่ยนประสบการณ์    จากสมาชิกด้วยกัน การจัดกิจกรรมพบปะสังสรรค์วันบานไม่รู้โรย กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ นันทนาการ และตัวแทนชมรม เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของเทศบาลนครสงขลา ทำให้ชมรมบานไม่รู้โรยมีความเข้มแข็งเป็นที่รู้จักกัน    อย่างกว้างขวาง
ชมรมบานไม่รู้โรย ซึ่งเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จึงเห็นความสำคัญในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้ง ๕5 ชุมชนในเขตเทศบาลนครสงขลา เพื่อให้การดูแลส่งเสริม ฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วย พร้อมทั้งลดการใช้ยาแผนปัจจุบันในการรักษาและเพิ่มทางเลือกในการดูแลสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย รวมทั้งผู้ป่วยสามารถนำกลับไปปฏิบัติใช้ที่บ้าน เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองได้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างปกติสุข จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ๑. เพื่อให้สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง
  2. ๒. เพื่อให้สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 430
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ๑. สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับ       การดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้อง ๒. สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีการรวมกลุ่มและเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีความเข้มแข็ง ๓. สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีความรักและความสามัคคีระหว่างสมาชิกด้วยกัน


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ๑. กิจกรรมเวทีการเรียนรู้นวัตกรรมและรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
      - สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติตน  เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้อง และเกิดการเรียนรู้นวัตกรรมและรูปแบบการดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยมีการจัดกิจกรรมเวทีการเรียนรู้นวัตกรรมและรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกวันพุธที่ ๒ ของเดือน  ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้ * วันที่ 11 เมษายน 2562 เรื่อง “15 สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน บำรุงสุขภาพ ลดน้ำตาลได้ดี”
                        โดยคุณปิยาภัทร เหลืองสะอาด แพทย์แผนไทย ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
    * วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 เรื่อง “ผัก ผลไม้ 5 สี คุณประโยชน์ดี ลดความดันโลหิตและน้ำตาล ในเลือด”โดยนักวิชาการสาธารณสุข และเรื่องการออกกำลังกาย ประกอบจังหวะ โดยคุณสวัสดิ์  พวงแก้ว
    * วันที่ 11 มิถุนายน ๒๕๖2 เรื่อง “ลดภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง”
    โดยนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ชั้นปีที่ 2 * วันที่ 11 กรกฎาคม 2562 เรื่อง “7 วิธีออกกำลังสมอง ต้านอัลไซเมอร์”โดยคุณสุพิศ สำเภาทอง และเรื่อง “บริหารสมอง ด้วยท่าออกกำลังกายง่ายๆ ช่วยเพิ่มพลังชีวิต” โดยคุณสวัสดิ์  พวงแก้ว
    2. กิจกรรมเมนูชูสุขภาพ ลดหวานมันเค็ม โดยคุณกุศลี  นิลพันธ์ นำเสนอเมนู “เมี่ยงมะม่วงสมุนไพร ลดหวาน ลดเค็ม” ซึ่งจัดในวันที่ 14 สิงหาคม 2562 ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
    3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่
      - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชมรมผู้สูงอายุ วัดวังไทร ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งจัดในวันที่ 11 กันยายน ๒๕๖2 มีวิทยากรจากชมรมผู้สูงอายุ วัดวังไทร ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช มาให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในวัยสูงอายุ และการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ วัดวังไทร พร้อมกิจกรรมสันทนาการร่วมกัน    โดยชมรมบานไม่รู้โรยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องของการออกกำลังกายแบบมณีเวชผสมผสานดนดรีร่วมสมัย

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ๑. เพื่อให้สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง
    ตัวชี้วัด : ๑. สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรย มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนไม่เกิน 5 %
    5.00 0.00
    • สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยไม่มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน คิดเป็น ๐ % (จากแบบบันทึกการตรวจสุขภาพประจำปี)
    2 ๒. เพื่อให้สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
    ตัวชี้วัด : 2. สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม > ๘๐%
    80.00 92.00
    • สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีความพึงพอใจในการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร้อยละ 92  (จากแบบประเมินความพึงพอใจ)

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 430 480
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 430 480
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๑. เพื่อให้สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง (2) ๒. เพื่อให้สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้อยู่ดีมีสุข ในเขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 62-L7250-2-17

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( (นางพันทิพย์ สุวรรณวงศ์) ประธานชมรมบานไม่รู้โรย )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด