กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
รหัสโครงการ 60/L2535/1/06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปาเสมัส
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 54,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ปาเสมัส
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสาลินี จงเจตดี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.054,101.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 22 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ซทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ปี พ.ศ2557-2559 พบว่า เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 5.84 , 5.29 , 5.90 และ 4.92 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่กำหนดไว้ว่า ภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาล และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กดดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็ก 0- 5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

 

2 2. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

 

3 3. เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี

 

4 4. เพื่อให้เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.ย. 59 2. กิจกรรมแก้ไขปัญหาภาวะพุท๓ชนาการ 0 39,800.00 -
1 ก.ย. 59 3. จัดมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็กในสถานบริการ 0 5,350.00 -
5 มิ.ย. 60 จัดมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็กในสถานบริการ 22 5,350.00 5,350.00
5 มิ.ย. 60 - 30 ก.ย. 17 กิจกรรมแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 22 39,800.00 38,520.00
8 มิ.ย. 60 กิจกรรมจัดทำ Focus group ครั้งที่ 1 22 3,450.00 3,450.00
10 มิ.ย. 60 กิจกรรมจัดทำ Focus group ครั้งที่ 2 22 2,950.00 2,950.00
17 มิ.ย. 60 1. กิจกรรมจัดทำ Focus group 0 9,350.00 -
12 ต.ค. 63 กิจกรรมจัดทำ Focus group ครั้งที่ 3 22 2,950.00 -
รวม 110 109,000.00 4 50,270.00
  1. ตรวจสอบสภาพเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง และขอสนับสนุนกองทุนฯ เพื่อจัดหา
  2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 0 - 5 ปี ในชุมชน
  3. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสมุดทะเบียนเด็ก พร้อมแจ้งผู้ปกครองทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู
  4. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
  5. เชิญผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรจาก รพ. หรือ รพ.สต. มีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย)

- ความสำคัญของอาหาร อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม - วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก - ความสำคัญของการเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง - การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก 6. จัดซื้ออาหารเสริม (นม) ให้แก่เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำ 7. ติดตามเยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 3 - 6 เดือน และแนะนำผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่อง 8. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการครอบคลุม
  2. ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 0 -5 ปี ลดลง
  3. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2559 10:19 น.