กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-L1461-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านมดตะนอย
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 60,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ มหาสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.303,99.394place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการจัดการโครงการ 2.จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ในการจัดโครงการ ขั้นดำเนินการ แบ่งออกเป็น 2ระยะ
ระยะก่อนเกิดโรค 1.ลงสำรวจพื้นที่ พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมในการรณรงค์และแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 2.สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับแกนนำและประชาชนในพื้นที่ เพื่อร่วมรับรู้สถานการณ์ของการเกิดโรคพร้อมร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา 3.จัดแบ่งโซนในการเฝ้าระวังดูแลการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน 4.สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนทุกวันศุกร์ โดย 4.1ครัวเรือนมีบทบาทสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบ้านตนเอง 4.2อาสาสมัครสาธารณสุขมีบทบาทสุ่มประเมินลูกน้ำยุงลายในละแวกบ้านที่รับผิดชอบพร้อมกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเฝ้าระวังเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค 4.3นักเรียนมีบทบาทสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมการเฝ้าระวังป้องกันภัยที่เกิดจากโรคไข้เลือดออก 5.ครัวเรือนได้รับธงสัญลักษณ์และรับรู้สถานะของครัวเรือนเอง 6.อบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มแกนนำ อสม.เข้าใจลักษณะการกระจ่ายของโรคไข้เลือดออกและสามารถเข้าควบคุมเบื้องต้นการเกิดโรคไข้เลือดออกได้ทันเวลา ระยะเกิดโรค 1.ควบคุมและกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยที่มีเชื้อโรคไข้เลือดออกโดยใช้สเปรย์กำจัดยุง ฉีดพ่นในบ้านทันที่และ ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งกนึ่ง ห่างจากครั้งแรก 5-7 วัน ในบ้านและรอบๆบ้านที่พบผู้ป่วยผู้สงสัยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก เพื่อการควบคุมยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกให้น้อยที่สุด 2.สนับสุนให้ชุมชนมีการควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยเน้นวิธีทางกายภาพ ทางชีวภาพ มากกว่าการใช้สารเคมี 3.อสม.สามารถใช้แผ่นที่ทางระบาดวิทยาเพื่อค้นหาจุดเสี่ยงและการกระจ่ายของโรคไข้เลือดออกหลังเกิดการระบาดหรือเฝ้าระวังทางระบาด 4.อสม.สามารถลงสอบสวนโรคเบื้องต้นและให้คำแนะนำการควบคุมโรคไข้เลือดออกพร้อมกับเจ้าหน้าที่ได้ 5.อสม.สามารถหาค่า HI CI ได้อย่างถูกต้อง 6.สามารถรับรู้สถานะของครอบครัวได้ ขั้นประเมินผล ประเมินผลการดำเนินงานหลังปฏิบัติในแต่ละกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สร้างการมีส่วนให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงปัญหาและผลการกระทบของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดในชุมชนของตนเอง พร้ร่วมมือกันหาแนวทางป้องกันแก้ไขเพื่อลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนและกลุ่มแกนนำสามารถนำแผ่นที่ทางระบาดมาใช้เพื่อหาจุดเสี่ยงและการกระจายของโรคให้เกิดประโยชน์ต่อการควบคุมป้องกันได้ท่วงทีและทันเวลาเพื่อลดปัจจัยการแพร่ระบาดของโรคให้ได้เร็วยิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2562 11:47 น.