กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เจ้ายุงลาย ภัยร้าย ต้องระวัง
รหัสโครงการ 62-L7250-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชน ศ.สระเกษ
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 57,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางมณฑิตา หงษ์ดำเนิน) ประธาน อสม. ชุมชนหลังวิทยาลัยพยาบาล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ซึ่งสามารถแพร่พันธุ์ได้ดีในช่วง      ฤดูฝน การรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน/ชุมชนจำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดเชื้อโรคไข้เลือดออกและจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดโรคในพื้นที่ จึงจะสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกให้สงบได้ จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2561 ของจังหวัดสงขลา พบมีผู้ป่วย จำนวน 1,096 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 77.14 ต่อแสนประชากร (งานป้องกันควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสงขลา, 2561) และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ในปี 25๕๗ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๑๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๐๖.๓๘ ต่อแสนประชากร ปี 25๕๘ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๑๗ ราย        คิดเป็นอัตราป่วย ๓1๘.๙๕ ต่อแสนประชากร ปี 25๕๙ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๘๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วย        ๑,5๐๐.๙4 ต่อแสนประชากร ปี 2560 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 25 ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๔๖๙.๐4 ต่อแสนประชากร และในปี 2561 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 46 ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๘๖๓.๐๔ ต่อแสนประชากร        จะเห็นว่าจากสถานการณ์ของโรคมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีประชากรที่หนาแน่นหลายพันครัวเรือน มีการปลูกอาคารบ้านเรือนที่หนาแน่น และชุมชนแออัด ส่งผลให้การดูแลทำความสะอาดถนน คูระบายน้ำ และพื้นที่สาธารณะต่างๆ ไม่ทั่วถึง อีกทั้งขาดความร่วมมือเอาใจใส่จากประชาชนในชุมชน จึงก่อให้เกิดการแพร่พันธ์ยุงลายในบริเวณกว้าง ทำให้มีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออก ทุกกลุ่มอายุและทุกวัย โดยคาดว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดปี หากไม่มีการเร่งรัดป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก โดยเป้าหมายหลักคือ ต้องร่วมมือกันจำกัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค จากปัญหาดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และแกนนำทั้ง 10 ชุมชน ได้เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆ ในชุมชน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆ ซึ่งการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง และการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ จะทำให้การดำเนินงานควบคุมโรคและป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงได้จัดทำโครงการ เจ้ายุงลาย ภัยร้าย ต้องระวัง ปีงบประมาณ 2562 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  1. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลงน้อยกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปี ย้อนหลัง
80.00
2 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน 3. เพื่อลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน 10
  1. ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน 10
10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. จัดหา จัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน
  3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการ
    1. แจ้งผู้นำชุมชน และ อสม. เพื่อนัดวันเวลาออกทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
    2. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและหอกระจายข่าวชุมชนพร้อมทั้งสื่อต่างๆ
  4. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน 10 ชุมชน
    1. คณะทำงาน อสม. 10 ชุมชน เลือกจุดสาธิตธนาคารปลากินลูกน้ำยุงลาย จำนวน 1 จุด พร้อมทั้งมอบอ่าง เลี้ยงปลา ปลากินลูกน้ำยุงลาย และอาหารปลา
    2. อสม. ทุกคน นำปลาจากจุดสาธิตธนาคารปลากินลูกน้ำยุงลาย ไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในเขตที่ตนเองรับผิดชอบ
    3. อสม. ทุกคน สำรวจกำจัดลูกน้ำยุงลาย ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทุก ๑ เดือน จะต้องมีค่า HI ไม่เกิน 10
    4. ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักและมีการกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง
  2. ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆ
  3. ลดการแพร่ระบาดของโรคและลดอัตราป่วย/ของโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2562 13:56 น.