กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ทรายบรรเทาอาการปวดเมื่อยปวดเข่า ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L7250-2-29
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนหลังอาชีวะ ศ .สระเกษ
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 13,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางสาวดวงกมล รัดซูน) อสม.ชุมชนหลังอาชีวะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานเกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ ทำให้มีการงอกของกระดูก เวลาเดินจะเจ็บข้อ มีการผิดรูปของข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุ โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตลดลง และทำให้โรคอื่นๆกำเริบ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากออกกำลังไม่ได้ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่าบวม เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป สาเหตุมีได้หลายประการ เช่น ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การที่มีน้ำหนักตัวมากๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะที่ก้าวเดิน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน บางรายเคยมีการอักเสบติดเชื้อ หรือเป็นโรคไขข้อ บางชนิด เช่น โรครูมาตอยด์ เป็นต้น จากการสำรวจผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงชุมชนหลังอาชีวะ พบว่า ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง 20 คน มีปัญหาปวดเมื่อยปวดเข่า 15 คน
ดังนั้นทางชุมชนจึงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้เขียนโครงการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ทรายบรรเทาอาการปวดเมื่อยปวดเข่า เนื่องจากคนในพื้นที่มีการฝังทรายเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยปวดเข่าแล้วมีอาการดีขึ้น จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมให้ทุเลาอาการเบาบางลงไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวนี้ให้นานที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 - เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการดูแลตนเองจากอาการปวดเมื่อยปวดเข่าให้ดีขึ้น
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการดูแลตนเองจากอาการปวดเมื่อยปวดเข่า ร้อยละ 80
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการ แก่กลุ่มเป้าหมาย
  3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและบำบัดโรคโดยวิธีฝังทราย ณ ชายทะเลชลาทัศน์
  4. ติดตามประเมินอาการหลังได้ปฏิบัติจริง
  5. สรุปรายงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ที่เข้ารับการบำบัดสามารถลดความเจ็บปวดและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
  2. สามารถป้องกันและควบคุมโรคข้อเข่าเสื่อมและไม่มีภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมในชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2562 14:19 น.