กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ลดใช้โฟม "กินง่าย ตายไว" กลุ่มวชิราแม่ค้าแผงลอย หน้าโรงเรียนวชิรานุกูลสงขลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๒
รหัสโครงการ 62-L7250-2-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มวชิรา ผู้ประกอบการแผงลอย
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 31 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 74,560.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางสาวกัญญา อุตตมะปรากรม) เลขานุการกลุ่มวชิรา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสภาพสังคมปัจจุบันที่มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย กลายเป็นสิ่งที่คนถวิลหา ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องการกินที่ช่วงเวลาของใครหลายคนทุกวันนี้ไม่เปิดโอกาสให้มีทางเลือกมากนัก การจะหาของกินดีๆ ปลอดภัยไร้สาร เป็นเรื่องยากเพราะเดี๋ยวนี้เน้น อิ่ม เร็ว ราคาถูก ส่งผลให้อาหารจำพวกแกงถุง ข้าวกล่อง กลายเป็นพระเอกในชีวิตประจำวันที่ผู้คนสังคมยุคก้มหน้า จำใจยอมรับ และชินอยู่กับมันทั้ง ๆ ที่บางคนก็รู้ว่าการแกล้งปิดตาข้างหนึ่งก่อนกลืนข้าวลงท้องนำมาซึ่งภัยเงียบ หากรับประทานอาหารจากกล่องโฟม วันละอย่างน้อย ๑ มื้อ ติดต่อกันนาน ๑๐ ปี มีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าคนปกติถึง ๖ เท่า ที่สำคัญกล่องโฟมคุมความร้อนได้เพียง ๗๐ องศาเซลเซียส แต่สิ่งที่เรารับประทานเช่น ข้าวผัด ข้าวไข่เจียว หรือผัดกะเพรา รวมไปถึงอาหารประเภทยำ หรือมีมะนาวเป็นส่วนประกอบ ล้วนมีความร้อน และกรดจากมะนาวเกินมาตรฐานกำหนด ส่งผลให้สารอันตรายปนเปื้อนออกมากับอาหารในปริมาณที่สูง ปัจจัยที่ทำให้ได้รับสารสไตรีนในกล่องโฟม ได้แก่ การที่อุณหภูมิร้อนขึ้นหรือเย็นลงทำให้สไตรีนซึมเข้าสู่อาหารได้สูง การปรุงอาหารโดยใส่น้ำมัน น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว แอลกอฮอล์ จะดูดสารสไตรีนจากกล่องโฟมได้มากกว่าปกติ การซื้ออาหารใส่กล่องทิ้งไว้นานโดยไม่ได้รับประทานอาหารก็จะดูดสารสไตรีนได้มาก การนำอาหารที่บรรจุโฟมเข้าไมโครเวฟ สไตรีนจะไหลออกมาในปริมาณมาก ถ้าอาหารสัมผัสพื้นผิวที่กล่องโฟมมาก ๆ รวมถึงการตัดถุงพลาสติกใสรองอาหารจะทำให้รับสารก่อมะเร็งถึง ๒ เด้ง ทั้งสไตรีนและไดออกซินจากถุงพลาสติกเลยทีเดียว กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายให้หน่วยงานหลักจัดทำโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย กลุ่มวชิรา ผู้ประกอบการแผงลอยบริเวณจุดผ่อนผันหน้าโรงเรียนวชิรนุกูลเทศบาลสงขลา ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์ ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร แก่ผู้ประกอบการร้านค้าอาหารและส่งเสริมให้เลือกใช้ภาชนะทดแทนที่ปลอดภัยย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนภายในเขตเทศบาลนครสงขลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อส่งเสริม/กระตุ้น รณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหารในผู้ประกอบการ ทั้งยังเพื่อป้องกันโรคมะเร็งรวมถึงลดอัตราเสี่ยงต่อภาวะการเป็นมะเร็งของประชาชน อันเนื่องมาจากได้รับสารพิษจากกล่องโฟม

ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารถนนทะเลหลวง เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนการใช้โฟมบรรจุอาหาร

100.00
2 ๒.ประชาสัมพันธ์โครงการฯให้ประชาชนทั่วไป(ผู้บริโภค) ภายในเขตเทศบาลนครสงขลา รู้และตระหนักถึงพิษภัยจากกล่องโฟม

 

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนการเตรียม 1. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ 2. จัดทำแผนปฏิบัติงาน ขั้นตอนการดำเนินการ 1. จัดทำแผนประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อจะรับสมัครสมาชิกที่จะเข้าร่วมโครงการ 2. จัดกิจกรรมอบรมให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารกลุ่มเป้าหมาย 1 ครั้ง จำนวน ๑๒๐ คน
3. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ถึงอันตรายจากโฟมบรรจุอาหาร เดือนละ 4 ครั้ง จำนวน 4 เดือน (เมษายน – กรกฎาคม ๒๕๖๒) 4. สนับสนุนที่บรรจุอาหารไบโอ ร้านละ 2 แพ็ค เพื่อเป็นแรงจูงใจในการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ถึงอันตรายจากโฟมบรรจุอาหาร 5. ติดตามและประเมินผล พร้อมติดสติ๊กเกอร์ให้กับร้านที่ผ่านการประเมินลดใช้โฟม วิธีการคัดเลือก 1. แต่งกายสะอาด 2. ใส่หมวก 3. ใส่ผ้ากันเปื้อน 4. มีภาชนะปกปิดอาหาร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารกลุ่มวชิรามีความรู้และทราบถึงพิษภัยของกล่องโฟม ๒.ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารกลุ่มวชิรา ลดและเลิกการใช้โฟมบรรจุอาหารและหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ และหันมาใช้วัสดุธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ๓.ประชาชนทั่วไป ทุกเพศ วัย (ผู้บริโภค) มีสุขภาพที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2562 15:01 น.