กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ตรวจสอบสารอาหารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอาง
รหัสโครงการ 62-L1513-02-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนตำบลควนเมา
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2019
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2019 - 31 สิงหาคม 2019
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2019
งบประมาณ 23,927.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเอื้องฟ้า ภักดีโยธา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนเมา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.938,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (23,927.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และสถานีอนามัยพระราชทานนาม ได้มีนโยบายพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคและวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนต้นแบบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ได้รับการคัดเลือกเป็นสถานีอนามัยต้นแบบในการดำเนินงาน   ในปีงบประมาณ 2558 ได้มีการอบรมพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพขึ้น เพื่อเป็นเครือข่ายในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง และจัดการความเสี่ยงงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพทั้งระดับหมู่บ้านและตำบล โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเข้ารับการอบรมจำนวน 30 คน และในปีงบประมาณ 2560 ได้มีการอบรมพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพของระดับตำบลควนเมาเพิ่มอีกจำนวน 15 คน ซึ่งทุกคนมีความรู้และความสามารถในการใช้ทักษะทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร สารอันตรายในเครื่องสำอาง โดยมีการเก็บตัวอย่างสุ่มตรวจเดือนละ 1 ครั้ง จากการตรวจตัวอย่างเครื่องสำอางในรอบปีที่ผ่านมาจำนวน 73 ตัวอย่าง พบมีสารอันตรายในเครื่องสำอาง จำนวน 17 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23.28 และอยู่ในขั้นตอนการส่งตรวจยืนยันที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง   กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอาง เพื่อให้สามารถมีการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 66 23,927.00 0 0.00
29 มี.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 ประชุม 25 4,914.00 -
31 มี.ค. 62 - 30 ส.ค. 62 ตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอาง 41 19,013.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ   1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน   1.2 จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ   1.3 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ   2.1 ประชุมกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนตำบลควนเมา เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 25 คน   2.2 ปฏิบัติการทดสอบตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอาง เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 25 คน   2.3 ประชาสัมพันธ์เตือนภัยเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและเครื่องสำอางในชุมชน และตลาดสด   2.4 เก็บตัวอย่างของอาหารและเครื่องสำอางตรวจ เดือนละ 1 ครั้ง
  3. ขั้นสรุปโครงการ   3.1 สรุปผลโครงการ   3.2 จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ตำบลควนเมา มีความรู้และความสามารถในการใช้ทักษะทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร สารอันตรายในเครื่องสำอาง
  2. ทำให้ร้านค้าและตลาดสด ได้รับการตรวจสอบอาหาร และเครื่องสำอาง
  3. ทำให้มีชุดทดสอบที่เพียงพอในการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร และเครื่องสำอาง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2019 16:13 น.