กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาการดี สุขภาพแข็งแรง โตอย่างมีคุณภาพ บ้านปะกาลือสง
รหัสโครงการ 62-L3065-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมตาดีกา หมู่ 6 ปะกาลือสง
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 23,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสือไขรี มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.832,101.178place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวันเป็นปัจจัยหลักในการใช้ชีวิตของคนส่วนมากในพื้นที่ สัมพันธภาพในครอบครัว ความอบอุ่น ขาดหายไปโดยไม่รู้ตัว ลืมในเรื่องของการดูแลสุขภาพ มองข้ามในเรื่องของภัยมืดที่คุกคามสุขภาพ เช่น ครอบครัวขาดความอบอุ่น การระบาดยาเสพติดในพื้นที่ เด็กมีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี เป็นต้น     ปัญหาดังกล่าวข้างต้น เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบร่วม ต้องช่วยกันป้องกันและแก้ไข ทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ปะกาลือสง มีหน้าที่โดยตรงในการอบรม สั่งสอน อบรมจริยธรรมให้แก่เยาวชนในพื้นที่ เห็นควรว่าการป้องกันปัญหาข้างต้นโดยเฉพาะปัญหาที่จะเกิดหรือเกิดขึ้นแล้วกับเด็กในวัยเรียน ต้องได้รับการแก้และขับเคลื่อนในการป้องกันตั้งแต่ที่ยังเป็นเด็กอย่างต่อเนื่อง ทางชมรมได้มีกิจกรรมขับเคลื่อนมาตลอดทุกปีโดยหาผู้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากภาคเอกชน ประชาชนในพื้นที่ เพื่อจะได้เพาะองค์ความรู้ ทัศนคติ และปลูกจิตสำนึกที่ดีตั้งแต่เยาว์วัย มองเห็นว่าในขณะนี้เด็กในพื้นที่มีภาวะเสี่ยงอ้วนสูง เนื่องจากกินขนมประเภทแป้ง น้ำตาล เยอะ เด็กขาดทักษะชีวิต เด็กมีความก้าวร้าวเนื่องจากสื่อออนไลน์ต่างๆ     จากเหตุผลดังกล่าวทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ปะกาลือสง มองเห็นว่าถ้าได้มีการส่งเสริมจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้มารวมกลุ่มน่าจะเป็นสิ่งที่ดี จึงได้จัดทำโครงการของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยงเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้มีความรู้ และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในปัจจุบัน

ร้อยละ 80 ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในปัจจุบัน

80.00
2 เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ

ร้อยละ 95 ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีสุขภาพร่างกาย จิตใจแข็งแรง

95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้มีความรู้ และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในปัจจุบัน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

6 เม.ย. 62 - 6 ก.ค. 62 จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกายในยามเย็น 80.00 8,750.00 -
26 เม.ย. 62 - 25 ต.ค. 62 ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่ ครั้งที่ 1 15.00 750.00 -
27 เม.ย. 62 - 26 พ.ค. 62 จัดอบรมหัวข้อเรื่อง “อยู่อย่างไรกับวัยเรียน เพื่อสุขภาพอันพึงประสงค์” 80.00 13,600.00 -
27 เม.ย. 62 ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่ ครั้งที่ 2 16.00 750.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ     2. ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่     3. จัดอบรมหัวข้อเรื่อง “อยู่อย่างไรกับวัยเรียน เพื่อสุขภาพอันพึงประสงค์”     4. จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกายในยามเย็น     5. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย     2. มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง     3. เด็กและเยาวชนมีความรู้เรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ มีภูมิคุ้มกันที่ดี เกิดชุมชนเข้มแข็งยั่งยืนในอนาคต     4. เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ปกติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2562 12:54 น.