กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมเมาไม่ขับ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เขตเทศบาลเมืองพัทลุง
รหัสโครงการ 2562-L7572-01-018
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานคุ้มครองผู้บริโภค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2562 - 30 เมษายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเบญญาภา มาเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาอุบัติเหตุจราจรเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งนับวันจะมีแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุจราจรเพิ่มมากขึ้นและมีความรุนแรงเป็นพิเศษในช่วงเทศกาล ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละปีพบว่ามีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก และก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และสังคม โดยมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปี ในปัจจุบันประชาชนได้มีการใช้รถยนต์เดินทางไปที่ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้การคมนาคมบนท้องถนน สะดวกและรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น หากเทียบกับการคมนาคมทางอื่น ส่วนในมุมกลับกันก็ทำให้มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้นด้วย แต่อุบัติเหตุส่วนใหญ่ล้วนเกิดขึ้นจากการที่ผู้ขับขี่มีความประมาท ขาดประสิทธิภาพ ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร  และเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยผู้ประสบอุบัติเหตุส่วนใหญ่จะอยู่ช่วงอายุ 21-35 ปี รองลงมา อยู่ในช่วงอายุ 16-20 ปี ภาพรวมคนไทยตายและเจ็บจากอุบัติเหตุปีละ ประมาณ 65,000 คน อัตราตาย 20 / แสนคน ยานพาหนะที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ รถจักรยานยนต์ และประเทศไทยต้องสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจกว่าปีละแสนล้านบาทและพบว่า 60 % ของอุบัติเหตุเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์เกินกว่าปริมาณที่กฎหมายกำหนดแล้วขับขี่การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดจึงไม่เพียงพอเพราะไม่ได้เปลี่ยนทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการดื่มแล้วขับ การบังคับใช้กฎหมายจึงต้องทำควบคู่ไปกับการรณรงค์สร้างจิตสำนึกเคารพกฎจราจร และให้ความรู้เรื่องการดื่มอย่างรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องสำหรับในจังหวัดพัทลุงในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 4 ราย ลดลงจากปีที่แล้วในช่วงเดียวกัน แต่มีอุบัติเหตุและผู้ได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้น 49 ราย เพิ่มจากปีที่ผ่านมา 12 ราย ส่วนสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุนั้น เกิดจากรถจักรยายนต์และเกิดบนถนนสายรองเป็นส่วนใหญ่ โดยจะอยู่ในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งการดื่มสุรายังเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ด้วยดังนั้นการแก้ไขปัญหาเมาไม่ขับที่ต้นเหตุที่สำคัญเป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะเมื่อประชาชนมีทัศนคติและมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดื่มแล้วไม่ขับ พวกเขาจะเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่ฝ่าฝืนกฎจราจร ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หากจะขับรถ นำไปสู่การลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อย่างยั่งยืน     งานคุ้มครองผู้บริโภค ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมเมาไม่ขับ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เขตเทศบาลเมืองพัทลุง ประจำปีงบประมาณ 2562 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้มีความเข้าใจเกี่ยวกับอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ

0.00
2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกัน และลดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในการป้องกันและลดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
5 เม.ย. 62 อบรมเกี่ยวกับอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ 50 15,000.00 11,900.00
รวม 50 15,000.00 1 11,900.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ /ขออนุมัติโครงการ
  2. ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจ ผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  3. ประสานงานวิทยากร / หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. ดำเนินงานโดยจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน เป็นเวลา 1 วันกลุ่มเสี่ยงประกอบด้วยประชาชนทั่วไปที่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ได้แก่ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง / ผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับรถ  (คัดเลือกมาจากคณะกรรมการชุมชน)/ ผู้ที่ถูกควบคุมความประพฤติจากการขับขี่รถโดยประมาทโดยเน้นจากสาเหตุการดื่มแอลกอฮอล์
  5. รวบรวมหลักฐานการใช้จ่ายงบประมาณ
  6. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน
  7. เสนอรายงานผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับได้เป็นอย่างดี
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในการป้องกันและลดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2562 15:02 น.